สวัสดีครับ วันนี้นายติวฟรีมาของดีมาฝากน้องๆสมาชิกเว็ป Tewfree.com อีกเช่นเคย สรุปเนื้อหาและสูตรทุกสูตร ของตรีโกณมิติ ม.5 (ตรีโกณมิติประยุกต์) ที่เป็นบทเรียนสุดฮอทในช่วงหลังสอบเทอมต้นนี้ครับ ใครเรียนเรื่องตรีโกณฯประยุกต์แล้วไม่เข้าใจ เรามาทำความเข้าใจกัน ^^
เนื้อหาของตรีโกณมิติประยุกต์ ม.5
เมื่อเรียนเรื่องตรีโกณมิติในสามเหลี่ยมมุมฉากมาจากปีก่อนๆแล้ว ใน ม.5 ตรีโกณมิติเองก็ได้อัพเลเวลให้ยากขึ้นไปอีกขั้น โดยการจับยัดสามเหลี่ยมเข้าไปใส่ไว้ในวงกลมนั่นเอง โดยรวมมีแค่นี้เองครับ เดี๋ยวมาค่อยๆดูกันนะว่ามีรายละเอียดอะไรบ้าง
1. วงกลมหนึ่งหน่วย
2. การเปลี่ยนตรีโกณให้อยู่ในวงกลม
3. ตรีโกณของมุมผลบวก/ผลต่าง
4. ตรีโกณจากมุมผลต่าง กับผลคูณ
5. วิธีคำนวณมุม 2, 3, 0.5 เท่า
6. เอกลักษณ์ตรีโกณมิติ
7. Inverse ของตรีโกณมิติ
8. กฎของ Sine และ Cos
9. การหาระยะทางและความสูง
วงกลมหนึ่งหน่วย
คือวงกลมที่มีรัศมียาว 1 หน่วย มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ (0,0)
องศากับเรเดียน
หนึ่งรอบของวงกลมคือ 2Pi เรเดียน = 360o ดังนั้น
Pi เรเดียน = 180o
ซึ่งจะเอาตรงนี้เป็นหลักเลย เมื่อโจทย์ถามถึงมุมองศาอื่นๆ ก็หารตามสัดส่วน
Pi/2 เรเดียน = 180o/2 = 90o
Pi/3 เรเดียน = 180o/3 = 60o
Pi/4 เรเดียน = 180o/4 = 45o
Pi/6 เรเดียน = 180o/6 = 30o
จริงๆมีมุมอีกเยอะ แต่หารแล้วเลขมันจะไม่ลงตัวครับ เราเอาแต่ตัวเลขสวยๆมาเรียนก็แล้วกันนะ จะได้ไม่งง
(x,y) เป็นจุดบนกราฟของวงกลม 1 หน่วย จากรูปจะได้ (x,y) = (cos θ, sin θ)
ค่า Sin Cos Tan ที่ตำแหน่งต่างๆบนวงกลม
วิธีการหาค่า Sin Cos Tan ที่ตำแหน่งต่างๆของวงกลม
ต้องหาด้วยสองขั้นตอนคือ
1. หาค่า sin cos tan นั้นๆ (ไม่ยาก)
2. หาเครื่องหมาย ว่าค่าที่หาได้ เป็น + หรือ – ดูได้จากวงกลม
สรุปสูตรพื้นฐาน 8 สูตร
สรุปสูตรตรีโกณมิติของมุมผลบวกและผลต่าง
การเปลี่ยนฟังก์ชันตรีโกณมิติจากมุมผลคูณ เป็นผลบวกหรือผลต่าง
การเปลี่ยนฟังก์ชันตรีโกณมิติจากมุมผลบวกหรือผลต่าง เป็นผลคูณ
สูตรมุม 2, 3, 0.5 เท่า
Inverse ของฟังก์ชันตรีโกณมิติ
1. Inverse ของฟังก์ชันตรีโกณมิติ จะเป้นฟังก์ชันก็ต่อเมื่อ ฟังก์ชันนั้นเป็นฟังก์ชันแบบ 1-1
2. ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ไม่ใช่ฟังก์ชัน 1-1 ดังนั้น Inverse ของงฟังก์ชันตรีโกณมิติ จึงไม่เป็นฟังก์ชัน
3. ถ้าต้องการให้ Inverse ของฟังก์ชันตรีโกณมิติเป็นฟังก์ชัน ต้องกำหนดโดเมนของฟังก์ชันตรีโกณมิติให้ลดลง เพื่อจะได้เป็นฟังก์ชันแบบ 1-1 โดยที่เรนจ์ของฟังก์ชันยังคงเดิม
4. การกำหนดโดเมนของฟังก์ชันตรีโกณมิติ เพื่อทำให้เป็นฟังก์ชันแบบ 1-1 นั่น จะกำหนดช่วงใดก็ได้ แต่นิยมช่วงใกล้ๆศูนย์
ขอบคุณครับ กำลังเรียนอยู่พอดีเรยยย
ตรีโกณมิติ ม.5 ยากมากเลยครับ ถ้าไม่ได้พี่ช่วยไว้ ผมต้องแย่แน่ๆ ของคุณอีกครั้งครับ http://www.tewfree.com
ขอบคุณมากๆฮะ มีประโยชน์จริงๆ รักติวฟรี ♥♥♥
ขอบคุณมากๆนะครับ
ขอบคุณมากนะคะ
ตามเพื่อนในห้องทันซะที
สุดยอดมากเลยครับ
ขอบคุณน่ะค่ะ มีประโยชน์มากเลย
อธิบายชัดเจนมากครับ
Thank you teacher.
งง ครับ
ขอบคุนค่ะ
ง่ายๆ
T T
เยี่ยมไปเลยค่ะ…ช่วยได้เยอะจิงๆ
เรียนตีโกณ ตอน ม.2 อ่า งงแปป..แต่ก็ของคุณน้าาา
ชอบมากครับ สูตรครบเลย