รวบรวมคำราชาศัพท์เอาไว้ทุกหมวดหมู่ พร้อมกับความหมาย และการใช้งาน ซึ่งรวมเอาไว้ถึง คำราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้ คำราชาศัพท์หมวดร่างกาย คำราชาศัพท์หมวดอาหาร คำราชาศัพท์หมวดเครือญาติ คำราชาศัพท์หมวดกริยา คำราชาศัพท์หมวดสรรพนาม
เว็บไซท์ติวฟรีได้รวบรวมคำราชาศัพท์เอาไว้มากที่สุดแห่งหนึ่ง เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาและค้นคว้าหาข้อมูลและความรู้กันได้ฟรีๆ กรุณาสนับสนุนเว็บติวฟรีด้วยการไม่ก้อปปี้ข้อมูลนี้ไปลงไว้ที่อื่น กลับกันให้กดแชร์แทนนะครับ
ข้ามไปที่คำราชาศัพท์หมวดที่ต้องการ
คำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์ คือ ภาษาหรือถ้อยคำที่ใช้ในการแสดงความเคารพต่อบุคคลที่มีความสำคัญ เช่น พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ และบุคคลสำคัญอื่นๆ โดยทั่วไปแล้ว คำราชาศัพท์จะมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคำทั่วไป เช่น การเติมคำว่า “ทรง” หน้าคำกริยา การเติมคำว่า “พระ” หน้าคำนามบางคำ เป็นต้น
ความหมายของคำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์หมายถึง คำศัพท์สำหรับพระราชา เป็นภาษาที่กำหนด และตกแต่งขึ้นให้สุภาพ และเหมาะสม เพื่อใช้พูดถึง หรือพูดกับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ปัจจุบันนี้หมายถึง คำสุภาพ ที่ใช้กับบุคคลที่ควรเคารพ การรู้เรื่องคำราชาศัพท์เป็นการเรียนรู้ในการใช้ภาษาให้ถูกต้องตามกาลเทศะ และฐานะของบุคคล ภาษาไทยได้กำหนดคำราชาศัพท์ขึ้นใช้ และมีวิธีการใช้ตามระเบียบแบบแผนของภาษาซึ่งนับว่า เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่แสดงออกทางด้านภาษา
ตามรูปศัพท์แล้ว คำราชาศัพท์ หมายถึงคำศัพท์ที่ใช้กับราชา แต่ในยุคสมัยที่เปลี่ยนไปนั้น มีการใช้คำราชาศัพท์ในวงที่กว้างขึ้น จึงตีความหมายของคำราชาศัพท์รุ่นใหม่เอาไว้ว่า
“คำราชาศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำสุภาพ ไพเราะที่ใช้ให้เหมาะกับฐานะของบุคคลในสภาพสังคมไทย”
การใช้คำราชาศัพท์
นอกจากพระราชาแล้ว เรายังใช้คำราชาศัพท์กับบุคคลอื่นด้วย แล้วบุคคลที่เราควรจะใช้คำราชาศัพท์ด้วย มีใครบ้างล่ะ? ราชบัณฑิตยสภา ได้กำหนดเอาไว้ว่า คำราชาศัพท์ควรใช้อย่างเหมาะสมและถูกต้องตามลำดับชั้นของบุคคล โดยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้
- พระมหากษัตริย์
- พระบรมวงศานุวงศ์ (พระญาติของพระมหากษัตริย์)
- พระภิกษุ
- ขุนนางข้าราชการ
- สุภาพชน
ที่มาของคำราชาศัพท์
ลักษณะของสังคมไทยเป็นสถานที่มีความผูกพันฉันพี่น้องนับถือกันด้วยวัยวุฒิ คุณวุฒิ และชาติวุฒิ ลักษณะดังกล่าวจึงสะท้อนออกมา และปรากฏในภาษาไทย เช่น การใช้ภาษาที่สุภาพกับผู้ที่มีวัยสูงกว่า การใช้ภาษากันเองกับผู้ที่สนิทสนมกันหรือการใช้คำราชาศัพท์ กับพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ เป็นต้น และในสังคมไทยสมัยก่อนเป็นสังคมที่ยกย่องผู้นำ ผู้ที่มีบุญญาธิการผู้ที่ประพฤติดี และผู้ที่ช่วยเหลือให้ความสุขแก่ราษฎร จึงได้มีการใช้คำเพื่อยกย่องเทิดทูนพระมหากษัตริย์
บทความแนะนำ: วันที่ระลึกพระมหาจักรีบรมราชวงศ์
นอกจากนี้ไทยได้รับอิทธิพลของการนับถือพระมหากษัตริย์ว่า เป็นเทวราชาจากเขมร มีการใช้คำ เพื่อแสดงสถานะของพระมหากษัตริย์ คำเหล่านั้นจึงได้พัฒนามาเป็นคำราชาศัพท์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่มาของคำราชาศัพท์ นอกจากจะมาจากลักษณะของสังคมไทย และความเกี่ยวข้องกันทางประวัติศาสตร์กับประเทศเขมร แล้วยังได้มีการกำหนดตกแต่งภาษาขึ้นมาเฉพาะ เป็นคำราชาศัพท์จากคำไทยที่มีอยู่แล้ว หรือสร้างคำขึ้นใหม่หรืออาจยืมมาจากภาษาอื่น คำราชาศัพท์ นั้น มีที่มาอยู่ 2 อย่าง คือ
- รับมาจากภาษาอื่น ภาษาเขมร เช่น โปรด เขนย เสวย เสด็จ เป็นต้น ภาษาบาลี-สันสกฤต เช่น อาพาธ เนตร หัตถ์ โอรส เป็นต้น
- การสร้างคำขึ้นใหม่ โดยการประสมคำ เช่น ลูกหลวงซับพระพักตร์ ตั้งเครื่อง เป็นต้น
คำราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้
คำราชาศัพท์ | ความหมาย |
พระวิสูตร | ม่านหรือมุ้ง |
พระสูตร | ม่านหรือมุ้ง |
พระเขนย | หมอน |
พระทวาร | ประตู |
พระบัญชร | หน้าต่าง |
พระสุวรรณภิงคาร | คนโทน้ำ |
ฉลองพระหัตถ์ช้อน | ช้อน |
ฉลองพระหัตถ์ส้อม | ส้อม |
ฉลองพระหัตถ์ตะเกียบ | ตะเกียบ |
แก้วน้ำเสวย | แก้วน้ำ |
พระสาง | หวี |
พระแสงกรรบิด | มีดโกน |
ซับพระองค์ | ผ้าเช็ดตัว |
ซับพระพักตร์ | ผ้าเช็ดหน้า |
ผ้าพันพระศอ | ผ้าพันคอ |
พระภูษา | ผ้านุ่ง |
นาฬิกาข้อพระหัตถ์ | นาฬิกาข้อมือ |
พระฉาย | กระจกส่อง |
ธารพระกร | ไม้เท้า |
พระแท่นบรรทม | เตียงนอน |
พระราชอาสน์ | ที่นั่ง |
โต๊ะทรงพระอักษร | โต๊ะเขียนหนังสือ |
พระราชหัตถเลขา | จดหมาย |
ฉลองพระเนตร | แว่นตา |
พระที่นั่งเก้าอี้ | เก้าอี้นั่ง |
เก้าอี้ประทับ | เก้าอี้นั่ง |
พระเขนย | หมอนหนุน |
เครื่องพระสุคนธ์ | เครื่องหอม เช่น น้ำหอม แป้งผัดหน้า |
เครื่องพระสำอาง | เครื่องประทินผิวหรือเครื่องสำอาง |
อ่างสรง | อ่างอาบน้ำ |
กระเป๋าทรง | กระเป๋าถือ |
พระแสงปนาค | กรรไกร |
คำราชาศัพท์หมวดร่างกาย
คำราชาศัพท์ | ความหมาย |
พระอุระ | หน้าอก |
พระทรวง | หน้าอก |
พระหทัย | หัวใจ |
พระกมล | หัวใจ |
พระอุทร | ท้อง |
พระนาภี | สะดือ |
พระกฤษฎี | สะเอว |
บั้นพระองค์ | สะเอว |
พระปรัศว์ | สีข้าง |
พระผาสุกะ | ซี่โครง |
พระเศียร | ศีรษะ |
พระนลาฏ | หน้าผาก |
พระขนง | คิ้ว |
พระภมู | คิ้ว |
พระเนตร | ดวงตา |
พระจักษุ | ดวงตา |
พระนาสิก | จมูก |
พระนาสา | จมูก |
พระปราง | แก้ม |
พระโอษฐ์ | ปากริมฝีปาก |
ต้นพระหนุ | ขากรรไกร |
พระกรรณ | หูหรือใบหู |
พระพักตร์ | ดวงหน้า |
พระศอ | คอ |
พระรากขวัญ | ไหปลาร้า |
พระอังสกุฏ | จะงอยบ่า |
พระกร | แขน |
พระกัประ | ข้อศอก |
พระกะโประ | ข้อศอก |
พระกัจฉะ | รักแร้ |
พระหัตถ์ | มือ |
ข้อพระกร | ข้อมือ |
ข้อพระหัตถ์ | ข้อมือ |
พระปฤษฏางค์ | หลัง |
พระขนอง | หลัง |
พระโสณี | ตะโพก |
พระที่นั่ง | ก้น |
พระอูรุ | ต้นขา |
พระเพลา | ขาหรือตัก |
พระชานุ | เข่า |
พระชงฆ์ | แข้ง |
หลังพระชงฆ์ | น่อง |
พระบาท | เท้า |
ข้อพระบาท | ข้อเท้า |
พระปราษณี | ส้นเท้า |
ส้นพระบาท | ส้นเท้า |
พระฉวี | ผิวหนัง |
พระโลมา | ขน |
พระพักตร์ | ใบหน้า |
พระมังสา | เนื้อ |
คำราชาศัพท์หมวดอาหาร
คำราชาศัพท์ | ความหมาย |
เครื่องเสวย | ของกิน |
เครื่องคาว | ของคาว |
เครื่องเคียง | ของเคียง |
เครื่องว่าง | ของว่าง |
เครื่องหวาน | ของหวาน |
พระกระยาหาร | ข้าว |
พระกระยาต้ม | ข้าวต้ม |
ขนมเส้น | ขนมจีน |
ผักรู้นอน | ผักกระเฉด |
ผักสามหาว | ผักตบ |
ผักทอดยอด | ผักบุ้ง |
ฟักเหลือง | ฟักทอง |
ถั่วเพาะ | ถั่วงอก |
พริกเม็ดเล็ก | พริกขี้หนู |
เห็ดปลวก | เห็ดโคน |
เยื่อเคย | กะปิ |
ปลาหาง | ปลาช่อน |
ปลาใบไม้ | ปลาสลิด |
ปลายาว | ปลาไหล |
ปลามัจฉะ | ปลาร้า |
ลูกไม้ | ผลไม้ |
กล้วยเปลือกบางหรือกล้วยกระ | กล้วยไข่ |
ผลมูลละมั่ง | ลูกตะลิงปลิง |
ผลอุลิด | ลูกแตงโม |
ผลอัมพวา | ผลมะม่วง |
นารีจำศีล | กล้วยบวชชี |
ขนมดอกเหล็กหรือขนมทราย | ขนมขี้หนู |
ขนมสอดไส้ | ขนมใส่ไส้ |
ขนมทองฟู | ขนมตาล |
ขนมบัวสาว | ขนมเทียน |
คำราชาศัพท์หมวดเครือญาติ ราชตระกูล
คำราชาศัพท์ | ความหมาย |
พระอัยกา | ปู่หรือตา |
พระอัยยิกา | ย่าหรือยาย |
พระปัยกา | ปู่ทวดหรือตาทวด |
พระปัยยิกา | ย่าทวดหรือยายทวด |
พระชนกหรือพระราชบิดา | พ่อ |
พระชนนีหรือพระราชมารดา | แม่ |
พระสสุระ | พ่อสามี |
พระสัสสุ | แม่สามี |
พระปิตุลา | ลุงหรืออาชาย |
พระปิตุจฉา | ป้าหรืออาหญิง |
พระมาตุลา | ลุงหรือน้าชาย |
พระมาตุจฉา | ป้าหรือน้าหญิง |
พระสวามีหรือพระภัสดา | สามี |
พระมเหสีหรือพระชายา | ภรรยา |
พระเชษฐา | พี่ชาย |
พระเชษฐภคินี | พี่สาว |
พระอนุชา | น้องชาย |
พระขนิษฐา | น้องสาว |
พระราชโอรสหรือพระเจ้าลูกยาเธอ | ลูกชาย |
พระราชธิดา,พระเจ้าลูกเธอ | ลูกสาว |
พระชามาดา | ลูกเขย |
พระสุณิสา | ลูกสะใภ้ |
พระราชนัดดา | หลานชายหรือหลานสาว |
พระภาคิไนย | หลานที่เป็นลูกของพี่สาวหรือน้องสาว |
พระภาติยะ | หลานที่ลูกของพี่ชาย หรือน้องชาย |
พระราชปนัดดา | เหลน |
คำราชาศัพท์หมวดกริยา
คำราชาศัพท์ | ความหมาย |
พระราชดำรัส | คำพูด |
ตรัส | พูดด้วย |
เสด็จพระราชดำเนิน | เดินทางไปที่ไกล ๆ |
เสด็จลง | เดินทางไปที่ใกล้ ๆ |
ทรงพระราชนิพนธ์ | แต่งหนังสือ |
ทรงพระกาสะ | ไอ |
ทรงพระสรวล | หัวเราะ |
ทรงพระปรมาภิไธย | ลงลายมือชื่อ |
ทรงสัมผัสมือ | จับมือ |
ทรงพระเกษมสำราญ | สุขสบาย |
ทรงพระปินาสะ | จาม |
พระราชโองการ | คำสั่ง |
พระราโชวาท | คำสั่งสอน |
พระราชปฏิสันถาร | ทักทาย |
มีพระราชประสงค์ | อยากได้ |
สรงพระพักตร์ | ล้างหน้า |
ชำระพระหัตถ์ | ล้างมือ |
พระราชปฏิสันถาร | ทักทายปราศรัย |
เสด็จประพาส | ไปเที่ยว |
พระราชปุจฉา | ถาม |
ถวายบังคม | ไหว้ |
พระบรมราชวินิจฉัย | ตัดสิน |
ทอดพระเนตร | ดู |
พระราชทาน | ให้ |
พระราชหัตถเลขา | เขียนจดหมาย |
ทรงเครื่อง | แต่งตัว |
ทรงพระอักษร | เรียน เขียน อ่าน |
ประทับ | นั่ง |
ทรงยืน | ยืน |
บรรทม | นอน |
สำหรับคำว่า พระราชโองการ และพระราโชวาท หากใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะมีคำว่า “บรม” นำหน้าคำว่า “ราช” เสมอ
คำราชาศัพท์หมวดสรรพนาม
คำที่ใช้แทน | คำราชาศัพท์ | ใช้กับ |
แทนชื่อผู้พูด (บุรุษที่ 1) | ข้าพระพุทธเจ้า กระผม, ดิฉัน | พระมหากษัตริย์ ผู้ใหญ่, พระสงฆ์ |
แทนชื่อที่พูดด้วย (บุรุษที่ 2) | ใต้ฝ่าละอองธุรีพระบาท ใต้ฝ่าละอองพระบาท | พระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี พระบรมราชนนี พระบรมโอสรสาธิราช พระบรมราชกุมารี |
แทนชื่อที่พูดด้วย | ฝ่าพระบาท | เจ้านายชั้นสูง |
แทนชื่อที่พูดด้วย | พระคุณเจ้า | พระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์ |
แทนชื่อที่พูดด้วย | พระคุณท่าน | พระภิกษุสงฆ์ทั่วไป |
แทนชื่อที่พูดด้วย | พระเดชพระคุณ | เจ้านาย, หรือพระภิกษุที่นับถือ |
แทนผู้ที่พูดถึง (บุรุษที่ 3) | พระองค์ | พระราชา, พระพุทธเจ้า, เทพผู้เป็นใหญ่ |
แทนผู้ที่พูดถึง | ท่าน | เจ้านาย, ขุนนางผู้ใหญ่, พระภิกษุ, ผู้ใหญ่ที่นับถือ |
คำราชาศัพท์หมวดพระสงฆ์
คำราชาศัพท์ | ความหมาย |
สรงน้ำ | อาบน้ำ |
จังหัน | อาหาร |
จำวัด | นอน |
ฉัน | รับประทาน |
นิมนต์ | เชิญ |
อาพาธ | ป่วย |
อาสนะ | ที่นั่ง |
ลิขิต | จดหมาย |
ปัจจัย | เงิน |
ปลงผม | โกนผม |
กุฏิ | เรือนที่พักในวัด |
ห้องสรงน้ำ | ห้องอาบน้ำ |
ประเคน | ถวาย |
เพล | เวลาฉันอาหารกลางวัน |
ถาน | เวจกุฎี ห้องสุขา |
ภัตตาหาร | อาหาร |
ตาย | มรณภาพ |
ใบปวารณา | คำแจ้งถวายจตุปัจจัย |
สลากภัต | อาหารถวายพระด้วยสลาก |
อังคาด | เลี้ยงพระ |
เสนาสนะ | สถานที่พระภิกษุใช้อาศัย |
ไตรจีวร | ครื่องนุ่งห่ม |
คิลานเภสัช | ยารักษาโรค |
อุบาสก,อุบาสิกา | คนรู้จัก |
รูป | ลักษณนามสำหรับพระภิกษุ |
องค์ | ลักษณนามสำหรัพระพุทธรูป |
พระโอวาท | คำสอน(พระสังฆราช) |
พระบัญชา | คำสั่ง(พระสังฆราช) |
พระแท่น | ธรรมาสน์(พระสังฆราช) |
พระสมณสาสน์ | จดหมาย(พระสังฆราช) |
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของ คำราชาศัพท์หมวดพระภิกษุสงฆ์ ได้ที่นี่ครับ
เอาล่ะ ครบแล้วครับสำหรับคำราชาศัพท์ต่างๆทุกหมวดหมู่ที่เว็บติวฟรีรวบรวมขึ้นมา ทีนี้เมื่อได้เรียนรู้ถึงคำราชาศัพท์เหล่านี้แล้ว ก็จะคุ้นเคยกับมันมากขึ้นอีกนะครับ ต่อไปถ้าอยากฝึกการใช้คำราชาศัพท์ หรือฝึกทบทวนตัวเอง ติวฟรีก็แนะนำให้ฟังข่าวในพระราชสำนักช่วงสองทุ่มดูทุกวันๆครับ แล้วคุณก็จะได้ฝึกคำราชาศัพท์ได้อย่างเต็มที่เลย
ประโยชน์ของคำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์มีประโยชน์หลายประการ ดังนี้
- แสดงออกถึงความเคารพต่อบุคคลที่มีความสำคัญ
- ช่วยให้เกิดความสุภาพและงดงามในการใช้ภาษา
- ส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของไทย
ตัวอย่างการใช้คำราชาศัพท์
ตัวอย่างการใช้คำราชาศัพท์ เช่น
- คำว่า “กิน” จะใช้เป็น “เสวย” เมื่อใช้กับพระมหากษัตริย์
- คำว่า “นอน” จะใช้เป็น “ทรงบรรทม” เมื่อใช้กับพระมหากษัตริย์
- คำว่า “บ้าน” จะใช้เป็น “พระตำหนัก” เมื่อใช้กับพระมหากษัตริย์
- คำว่า “ท่าน” จะใช้เป็น “พระองค์” เมื่อใช้กับพระมหากษัตริย์
นอกจากนี้ คำราชาศัพท์ยังมีการใช้ในบริบทอื่นๆ อีกมากมาย เช่น การกล่าวถึงบุคคลสำคัญ การกล่าวถึงสิ่งของหรือสถานที่สำคัญ เป็นต้น
เราไม่ใช้คำราชาศัพท์กับพระเจ้าแผ่นดินได้ไหม?
มีหลายคนได้ถามกันเข้ามาว่า ทำไมถึงต้องใช้คำราชาศัพท์ เราไม่ใช้คำราชาศัพท์กับพระเจ้าแผ่นดินได้ไหม จึงขอยกตัวอย่างกรณีศึกษาจากราชบัณฑิตยสภามาให้อ่านกันครับ
เด็ก : คุณครูครับ ทำไมจึงต้องมีราชาศัพท์ด้วยครับ เราจะพูดกับในหลวงอย่างที่เราพูดกับพ่อได้ไหม
ครู : ถ้าหนูพูดราชาศัพท์ไม่ได้ ก็พูดอย่างธรรมดา ท่านไม่ถือพระองค์ แต่ในฐานะที่เป็นคนไทยที่จงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ต้องพยายามเรียนราชาศัพท์และใช้ให้ถูก เพราะคนไทยมีวัฒนธรรมเคารพผู้ใหญ่ วัฒนธรรมนี้ทำให้เราใช้ภาษาต่าง ๆ กัน บางคำใช้สำหรับพูดกับผู้ใหญ่ บางคำสำหรับพูดกับผู้น้อย บางคำใช้พูดกับผู้เด็กหรือพูดกับคนที่มีฐานะทางสังคมด้อยกว่า เมื่อพูดกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ต้องใช้คำสูง คำไพเราะ เพื่อแสดงความเคารพยกย่องสูงสุด และแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์ คำที่เป็นราชาศัพท์มีทั้งคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต ภาษาเขมร หรือเป็นคำภาษาไทย
เด็ก : ผมเข้าใจแล้วครับ เวลาพูดกับพ่อแม่ผมยังใช้คำไม่เหมือนกับที่ผมพูดกับเพื่อนผมเลย เวลาพูดถึงในหลวงก็ต้องใช้ราชาศัพท์
ที่มา : บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย” ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น. link
บทสรุป
คำราชาศัพท์เป็นภาษาหรือถ้อยคำที่ใช้ในการแสดงความเคารพต่อบุคคลที่มีความสำคัญ การใช้คำราชาศัพท์อย่างเหมาะสมและถูกต้องจะช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของไทย
นีรนุช ลีลาสถาบัน says
คำราชาศัพท์ ม.2 มีอะไรบ้างคะ พี่ช่วยหนูหน่อยนะค่ะ หนูต้องทำรายงานส่งครู
นายติวฟรี says
ม.2 เรียนคำราชาศัพท์ข้างบนนี้ครบหมดเลยครับ
น้องตู่ says
ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะค่ะ
Jeab Darling says
ขอบคุณที่แจ้งข่าวค่ะ
ชุติมา วงศ์เลิศไพศาล says
ขอบคุณค่ะ
แม็ค เต้อ says
ขอบคุณที่บอกครับ ให้ความสนใจเต็มที่ล่ะ
นายไกรวุฒิ ธีราภา says
แปลกดี ขอบคุณที่มาแบ่งปันประสบการณ์
บู๊ม says
อ้างอิงเขียนไงดี?
อเล็กซ์ says
สวัสดีครับ ผมชื่ออเล็กซ์ เป็นชาวแคนาเดียน
คำราชาศัพท์ของไทย น่าตื่นเต้นมากครับ ขอบคุณมากครับ
วราวุธ พงษ์อรรถ says
เข้าใจสนุกจังเลย
Orochimaru says
ขอบคุณครับอีกครั้งค่ะ
Gaara of the Sand says
ขอบคุณอย่างจริงใจ
Light Yagami says
ขอบคุณครับ!
DragonSlayer96 says
ขอบคุณครับไปเถอะค่ะ
CrimsonRoseGamer says
ดีแล้วนะ
Lust says
ดีเลยเรา
ตุ๊กตา จันทร์แจ้ says
ดีๆ ต้องบอก!