กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน (Newton’s laws) หรือที่เรียกกันสั้นๆว่ากฎของนิวตัน เป็นกฎง่ายๆสามข้อที่ เซอร์ไอแซค นิวตัน นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษเป็นผู้ค้นพบ กฎการเคลื่อนที่นี้เป็นกฎที่อธิบายธรรมชาติของการเคลื่อนที่ของวัตถุต่างๆ ในเอกภพ
กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน ทั้ง 3 ข้อ
เซอร์ไอแซค นิวตัน 4 มกราคม 2186 – 31 มีนาคม 2270
กฎข้อที่ 1 ของนิวตัน
วัตถุจะหยุดนิ่งหรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วและทิศทางคงที่ได้ต่อเมื่อผลรวมของแรง (แรงลัพธ์) ที่กระทำต่อวัตถุเท่ากับศูนย์ สามารถแตกออกมาได้ 2 อย่างคือ
(A) วัตถุจะหยุดนิ่งถ้าไม่มีแรงใดๆ มากระทำต่อวัตถุนั้นๆ หรือถ้าปล่อยวัตถุไว้บนพื้นราบเฉยๆไม่มีใครไปผลักมัน มันก็จะอยู่นิ่งๆไม่ขยับไปไหน ถ้าวางกล่องไว้บนพื้นราบและไม่มีใครไปผลักมัน ไม่มีแรงอื่นๆ มันก็จะอยู่เฉยๆไม่ขยับไปไหน
(B) วัตถุจะเคลื่อนที่ต่อเนื่องถ้าไม่มีแรงใดๆที่ไม่เท่ากับ 0 มากระทำต่อวัถุนั้นๆ หรือถ้าวางรถไว้บนพื้นราบแล้วออกแรงคงที่ผลักมัน มันก็จะขยับไปด้วยความเร็วคงที่ เราเรียกข้อนี้ว่า กฎความเฉื่อย
กฎข้อที่ 2 ของนิวตัน
เมื่อมีแรงลัพธ์ที่ไม่เป็นศูนย์มากระทำต่อวัตถุ จะทำให้วัตถุที่มีมวลเกิดการเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง โดยขนาดของแรงจะเท่ากับมวลคูณความเร่ง ตัวอย่างคือเมื่อเราโยนหินลงมาจากยอดเขา ยิ่งตกไกลหินยิ่งเร็วขึ้นๆ
แรงลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับหินตกนี้คือ F = ma = mg; เมื่อ a คือความเร่ง ซึ่งเท่ากับ g แรงโน้มถ่วงของโลกนั่นเอง
กฎข้อที่ 3 ของนิวตัน
ทุกแรงกิริยาย่อมมีแรงปฏิกิริยาที่มีขนาดเท่ากันแต่ทิศทางตรงกันข้ามเสมอ หรือเรียกสั้นๆได้ว่า Action = Reaction ตัวอย่างคือเมื่อเราเข็นรถ รถก็จะเคลื่อนที่ไปด้วยแรงของเรา แต่เราเองก็จะได้รับแรงกลับจากรถที่มือของเรา เราจึงรู้สึกหนักนั่นเอง ถ้าเข็นรถคันเล็กๆแล้วยังไม่รู้สึกว่ามันหนัก แนะนำให้ลองไปเข็นรถเมล์ดูครับ
ร่วมแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ “กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน (กฎของนิวตัน)”