คำนำเป็นส่วนสำคัญในการเขียนรายงานหรือเอกสารต่างๆ เนื่องจากเป็นส่วนที่ทำหน้าที่เกริ่นนำให้ผู้อ่านเข้าใจถึงเนื้อหาของรายงานหรือเอกสารนั้นๆ ว่าเกี่ยวกับอะไร วัตถุประสงค์ในการเขียนคืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรต่อผู้อ่าน
เทคนิคการเขียนคำนำในรายงานต่างๆ เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้รายงานนั้นน่าสนใจและถูกต้องตามความเป็นจริง คำนำควรจะไม่เริ่มต้นน้อยเกินไปซึ่งอาจทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจเนื้อหาหรือมากเกินไปซึ่งอาจทำให้คำนำเหมือนสร้างความรู้สึกนิดเดียวของผู้อ่าน ดังนั้นเรามีเทคนิคที่ดีเพื่อช่วยใน การเขียนคำนำ ให้น่าสนใจมาฝากกัน
คำนำ
คำนำ คือการเกริ่นเปิดเรื่องราว เพื่อให้ผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว ว่าเนื้อหาของรายงานหรือหนังสือเล่มนั้นๆ พูดเกี่ยวกับอะไร มีเนื้อหาครอบคลุมถึงอะไรบ้าง เป็นประโยชน์กับใคร เพื่อให้มองเห็นถึงภาพรวมของรายงานหรือหนังสือเล่มนั้นๆ ได้ และตัดสินใจได้ว่าจะอ่านรายงานเล่มนั้นอย่างละเอียดหรือไม่
คำนำเป็นส่วนสำคัญในการเขียนเอกสารหรือบทความ เนื่องจากมันเป็นตัวแทนที่แสดงถึงเนื้อหาหรือเรื่องราวที่จะถูกนำเสนอต่อไป ความยาวของคำนำมีความสำคัญอย่างมากในการดึงดูดความสนใจของผู้อ่านและเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดรูปแบบและเนื้อหาของเรื่องที่จะถูกนำเสนอในบทความหรือเอกสารนั้น
คำนำที่ดีจะเข้าถึงผู้อ่านอย่างเหมาะสมและชักชวนให้ต้องการอ่านต่อไปในส่วนของเนื้อหาหลัก ดังนั้น การเลือกใช้คำนำที่เหมาะสมและเขียนให้อยู่ในรูปแบบที่น่าสนใจมีความสำคัญในการสร้างบทความหรือเอกสารที่มีคุณค่าและมีผู้อ่านที่พึงพอใจ
ความยาวของคำนำ
คำนำในการเขียนบทความหรือเอกสารมีบทบาทสำคัญในการดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน ความยาวของคำนำเป็นปัจจัยที่ควรถูกคำนึงถึงอย่างใกล้ชิด เพราะมันจะกำหนดลักษณะและคุณลักษณะเริ่มแรกของบทความหรือเอกสารนั้น คำนำที่ดีควรมีความยาวที่เหมาะสม ไม่ควรสั้นเกินไปเพราะอาจไม่เพียงพอในการสื่อความหมายหรือไม่ควรยาวเกินไปเพราะอาจทำให้ผู้อ่านเบื่อหรือสับสน
แนวทางทั่วไปคือคำนำควรมีความยาวประมาณ 1/4 ถึง 1/2 หน้ากระดาษ A4 เพื่อให้เหมาะสมและสามารถสร้างความสนใจและความต้องการให้ผู้อ่านต้องการอ่านต่อไปในส่วนเนื้อหาหลักของเรื่อง ทั้งนี้ความยาวของคำนำอาจเปลี่ยนไปตามรูปแบบเอกสารเฉพาะทางต่างๆ
หลักการเขียนคำนำ
คำนำที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
- สั้นและกระชับ ไม่ควรยาวเกินไปจนทำให้ผู้อ่านเบื่อหรือสับสน
- น่าสนใจ ดึงดูดให้ผู้อ่านอยากอ่านต่อ
- ครอบคลุมเนื้อหาของรายงานหรือเอกสารนั้นๆ
- ถูกต้องตามความเป็นจริง
- ไม่นำเนื้อหาในรายงานมาสรุปในพื้นที่ของคำนำ
เทคนิคการเขียนคำนำ
มีเทคนิคการเขียนคำนำมากมายที่ผู้เขียนสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับเนื้อหาของรายงานหรือเอกสารนั้นๆ ดังนี้
ส่วนสิ่งที่สำคัญอันดับสองนั้นก็คือความสามารถในการเล่าเรื่องของผู้เขียน แต่ถ้าคุณเป็นผู้เขียนมือใหม่ที่ไม่รู้ว่าจะเล่าเรื่องอย่างไรแล้วล่ะก็ ลองใช้หลักการเขียนคำนำของราชบัณฑิตยสถานตามนี้ดูสิครับ
- เขียนด้วยคำพังเพย หรือสุภาษิตที่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง
- เขียนอธิบายความหมายของเรื่อง
- เขียนโดยขึ้นต้นด้วยคำกล่าวของบุคคลสำคัญ
- เขียนด้วยการเล่าเรื่อง
- เขียนด้วยคำถามหรือปัญหาที่สนใจ
- เขียนด้วยการอธิบายชื่อเรื่อง
- เขียนคำนำด้วยคำกล่าวถึงจุดประสงค์ของเรื่องที่เขียน
- เขียนด้วยการกล่าวถึงใจความสำคัญของเรื่องที่เขียน
- เขียนให้ผู้อ่านที่สนใจ เกิดการอยากอ่านเนื้อหาต่อ
สิ่งที่ไม่ควรทำในการเขียนคำนำ
- อย่าขึ้นคำนำด้วยคำบอกเล่าอันเกินควร
- จะทำให้ผู้อ่านหมดความสนใจไปก่อน อย่าลืมว่าคำนำควรจะสั้นและกระชับ ไม่ต้องอธิบายละเอียดตั้งแต่ตื่นมากี่โมง กินอะไรเป็นอาหารเช้า ให้คุณเข้าเรื่องตั้งแต่แรกๆ เลยจะดีที่สุด
- อย่าอธิบายฟุ้งซ่านจนไม่มีจุดหมายของเรื่อง
- จะทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจว่ารายงานหรือหนังสือเล่มนี้ต้องการจะสื่ออะไร อย่าลืมว่าเป้าหมายของคำนำคือการที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้อย่างรวดเร็วว่ารายงานหรือหนังสือเล่มนี้เกี่ยวกับเรื่องอะไร มีเนื้อหาอะไรบ้าง และมีความเหมาะสมกับผู้อ่านกลุ่มไหน
- อย่าเขียนซ้ำกับส่วนสรุปหรือความลงท้ายของรายงานหรือเอกสาร
รูปแบบการเขียนคำนำ
- เริ่มจากให้พิมพ์คำว่า “คำนำ” ด้วยอักษรขนาดใหญ่ ไว้กลางหน้ากระดาษ เว้นระยะให้ห่างจากขอบบน 2 นิ้ว
- เขียนคำนำโดยใช้เทคนิคต่างๆที่ได้เรียนรู้จากบทความนี้
- เมื่อจบข้อความให้ ลงชื่อ และ นามสกุลของผู้เขียนคำนำ
- การลงท้ายคำนำ
- หากเขียนคำนำด้วยตัวเอง ลงท้ายด้วยคำว่า “ผู้จัดทำ” และวันที่แบบย่อ เช่น 1 มิ.ย. 2562 จะจัดหน้าชิดซ้าย หรือชิดขวาก็ได้ทั้งนั้นไม่ผิด แต่ส่วนมากแล้วจะนิยมจัดหน้าชิดขวากัน
- หากเขียนคำนำให้กับคนอื่น เอกสารอื่น หรือหนังสือเล่มอื่น ที่ผู้เขียนคำนำไม่ได้เขียนเอกสารทั้งเล่มนั้นเอง อาจลงต่อท้ายชื่อและนามสกุล ด้วยยศ หรือตำแหน่งของตัวเอง
ตัวอย่างการเขียนคำนำ
ตัวอย่างที่ 1: คำนำรายงาน
คำนำ
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา……. (รหัสวิชา) …..ชั้นมัธยมศึกษาปีที่….. โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ที่ได้จากเรื่อง…………… ซึ่งรายงานนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้จาก……………………………………………………………………………………..
ผู้จัดทำได้เลือกหัวข้อนี้ในการทำรายงาน เนื่องมาจากเป็นเรื่องที่น่าสนใจและ ต้องขอขอบคุณ….(ชื่อบุคคลที่ช่วยเหลือ ข้อมูล)……..ผู้ให้ความรู้และแนวทางการศึกษา เพื่อน ๆ ทุกคนที่ให้ ความช่วยเหลือมาโดยตลอดผู้จัดทำหวังว่ารายงานฉบับนี้จะให้ความรู้ และเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุก ๆ ท่าน
ลงชื่อ…..….
ผู้จัดทำ
ตัวอย่างที่ 2: คำนำรายงาน
คำนำ
รายงาน/เอกสารคำสอน/สื่อ ฯลฯ ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา…….…ชั้นมัธยมศึกษาปีที่…โดยมีจุดประสงค์ เพื่อการศึกษาความรู้ที่ได้จากเรื่อง……….. ทั้งนี้ ในรายงานนี้มีเนื้อหาประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับ………. ตลอดจนการประยุกต์ใช้………
ผู้จัดทำได้เลือกหัวข้อนี้ในการทำรายงาน เนื่องมาจากเป็นเรื่องที่น่าสนใจ รวมทั้งแสดงให้เห็นถึง… ……ผู้จัดทำต้องขอขอบคุณอาจารย์………ผู้ให้ความรู้ และแนวทางการศึกษา หวังว่ารายงานฉบับนี้จะให้ความรู้ และเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุก ๆ ท่าน หากมีข้อเสนอแนะประการใด ผู้จัดทำขอรับไว้ด้วยความขอบพระคุณยิ่ง
ลงชื่อ……….
ผู้จัดทำ
ตัวอย่างที่ 3: คำนำรายงาน
คำนำ
รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการเรียนวิชา… โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้จัดทำได้ฝึกการศึกษาค้นคว้า และนำสิ่งที่ได้ศึกษาค้นคว้ามาสร้างเป็นชิ้นงานเก็บไว้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนของตนเองและครูต่อไป
ทั้งนี้ เนื้อหาได้รวบรวมมาจากหนังสือแบบเรียน…และจากหนังสือคู่มือการเรียนอีกหลายเล่ม ขอขอบพระคุณอาจารย์…อย่างสูงที่กรุณาตรวจ ให้คำแนะนำเพื่อแก้ไข ให้ข้อเสนอแนะตลอดการทำงาน ผู้จัดทำหวังว่ารายงานฉบับนี้คงมีประโยชน์ต่อผู้ที่นำไปใช้ให้เกิดผลตามความคาดหวัง
ลงชื่อ…..….
ผู้จัดทำ
บทสรุป
เห็นไหมว่าการเขียนคำนำนั้นไม่ยากเลย ขอเพียงเราจับจุดให้อยู่ มองให้ทะลุถึงหลักการ เหตุผล และประโยชน์ของคำนำ มองให้ออกว่าผู้อ่านคำนำต้องการจะอ่านอะไร แล้วเราก็เขียนมันลงไปโดยใช้หลักการที่ได้เรียนรู้จากบทความนี้ เพียงเท่านี้ทุกคนก็สามารถที่จะเขียนคำนำดีๆ ได้แล้ว
หลังจากได้เรียนรู้ถึงเทคนิคในการเขียนคำนำไปแล้ว ต่อไปพี่ติวฟรีก็อยากจะให้ทุกๆ คนลองลงมือเขียนคำนำของตัวเองโดยใช้เทคนิคที่เพิ่งได้เรียนรู้มา ลองเขียนไปเรื่อยๆ เขียนๆ ลบๆ แล้วอ่านดูว่าเป็นคำนำที่ดีแล้วหรือยัง ปรับไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพอใจ ไม่มีใครเขียนได้ดีตั้งแต่ครั้งแรก ขนาดนักเขียนระดับโลกยังเขียนๆ ลบๆ เป็นสิบๆ รอบ กว่าจะได้ผลงานที่พอใจเลยครับ
สุดท้ายแล้วเชื่อว่าคำนำของทุกคนจะดีขึ้นอย่างมีนัยะสำคัญอย่างแน่นอน ยังไงใครเขียนคำนำเสร็จแล้วได้ผลอย่างไร ก็คอมเมนต์บอกกันไว้ด้วยที่ช่องด้านล่างนี้เลยนะครับ
Bulma says
อันนี้ดีมาก
Ruchit says
ขอบคุณแบบเราใจดี
Oat Supanut says
นี่มันดีแท้
วราภรณ์ นันทพงษ์ says
ขอบคุณจากใจลึกค่ะ
วราทิตา กิจวัฒน์ says
ขอบคุณมากเลยครับ!