สรุปอริยสัจ 4 หลายคนคงจะสงสัยว่า อริยสัจ 4 มีอะไรบ้าง เว็บไซท์ติวฟรีจึงได้รวบรวมข้อมูล สรุป และตัวอย่างของการใช้งานอริยสัจ 4 มาให้ผู้ที่สนใจใช้แก้ปัญหา และเข้าถึงเป้าหมายสูงสุดที่ตัวเองต้องการได้
อริยสัจ 4
อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระพุทธเจ้า ในพุทธศาสนา อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยบุคคล หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ
อริยสัจ 4 ประกอบด้วย
ทุกข์ | ความจริงที่ว่าด้วยความทุกข์ ความเศร้าโศก เสียใจ ความไม่พอใจ เป็นต้น |
สมุทัย | ความจริงที่ว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์ ความอยากได้ ความต้องการ ความยึดมั่น เป็นต้น |
นิโรธ | ความจริงที่ว่าด้วยความดับทุกข์ ความดับทุกข์ ความหลุดพ้น เป็นต้น |
มรรค | ความจริงที่ว่าด้วยทางแห่งความดับทุกข์ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นต้น |
อริยสัจ 4 คือความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ
พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่ว่าด้วยหลักความจริงที่เกิดจากพระปัญญาการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า อันเป็นหลักสัมพันธ์แห่งเหตุผลที่ไม่แปรผัน ทำให้ผู้ศึกษาปฏิบัติตามหลัก สามารถก้าวพ้นจากความเป็นปุถุชน ที่หนาด้วยกิเลสสู่ภาวะแห่งอริยบุคคล ที่ประเสริฐสุดด้วยคุณธรรมได้อย่างแท้จริง หลักความจริงที่ว่านี้ พระพุทธองค์ทรงบัญญัติตรัสเรียกว่า อริยสัจ 4 ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
1. ทุกข์ (ธรรมที่ควรรู้)
ทุกข์ คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ต่างก็มีความทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น ความทุกข์จึงเกิดขึ้นกับใครก็ได้ทุกขณะ เราจึงไม่ควรประมาทและพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับความจริงของทุกข์นั้นๆ ทุกข์คือความจริงข้อแรกในอริยสัจ 4
ความทุกข์ หมายถึงความที่กายและใจทนสภาพบีบคั้นได้ยาก เป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้ เป็นผลที่เนื่องมาจากเหตุ ปัญหาของชีวิต พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่ามนุษย์ทุกคนมีทุกข์เหมือนกัน ทั้งทุกข์ขั้นพื้นฐานและทุกข์เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน
ทุกข์ขั้นพื้นฐาน คือ ทุกข์ที่เกิดจากการเกิด การแก่ และการตาย ส่วนทุกข์ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน คือ ทุกข์ที่เกิดจากการพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ทุกข์ที่เกิดจากการประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ทุกข์ที่เกิดจากไม่ได้ดังใจปรารถนา รวมทั้งทุกข์ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ อาทิ ความยากจน
2. สมุทัย (หลักธรรมที่ควรละ)
สมุทัย คือ ความจริงที่ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งความทุกข์ เพราะความทุกข์หรือปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น มีสาเหตุเกิดจากอะไรบางอย่าง ไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ โดยไม่มีเหตุ สมุทัยคือความจริงข้อที่สองในอริยสัจ 4
สมุทัย หมายถึงเหตุที่เกิดทุกข์ คือ กิเลสตัณหาที่กระตุ้นจิตใจให้ส่ายแส่หาอารมณ์ที่ปรารถนา อยากได้ อยากมี อยากเป็น และอยากพ้นไปจากภาวะไม่ปรารถนา เป็นเหตุแห่งทุกข์ที่ต้องละ พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า ทุกข์ทั้งหมดซึ่งเป็นปัญหาของชีวิต ล้วนมีเหตุให้เกิดเหตุนั้น คือ ตัณหา อันได้แก่ความอยากได้ต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วยความยึดมั่น
3. นิโรธ (หลักธรรมที่ทำให้บรรลุ)
นิโรธ คือ ความดับทุกข์หรือดับปัญหาต่างๆ พุทธศาสนามีหลักคำสอนเกี่ยวกับเรื่องความสุขมากมาย จุดหมายสูงสุด คือ นิพพาน เป็นบรมสุขที่สูงสุด นิโรธคือความจริงข้อที่สามในอริยสัจ 4
นิโรธ หมายถึงความดับทุกข์ คือ ภาวะที่เป็นผลจากการดับตัณหาและสามารถพ้นจากทุกข์ได้เด็ดขาด เป็นภาวะที่ต้องทำให้ประจักษ์แจ้ง พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า ทุกข์คือปัญหาของชีวิตทั้งหมดที่สามารถแก้ไขได้นั้น ต้องแก้ไขตามทางหรือวิธีแก้
4. มรรค (หลักธรรมที่ควรเจริญ หรือทำให้เกิดขึ้น)
มรรค คือ ข้อปฏิบัติที่ทำให้พ้นจากความทุกข์หรือปัญหาต่างๆ ข้อปฏิบัติให้ลุถึงความดับทุกข์ ซึ่งมีองค์ประกอบ 8 ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติที่เป็นแบบอย่างหรือทางดำเนินชีวิตที่ดีเลิศ จัดเป็นเหตุที่ควรเจริญ คือ ลงมือปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงนิโรธ โดยสรุปเป็นหลักแห่งการศึกษาปฏิบัติสำคัญได้ 3 ประการ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา มรรคคือความจริงข้อสุดท้ายในอริยสัจ 4 ประการ
มรรค หมายถึงหนทางสู่การดับทุกข์ มีด้วยกันทั้งหมด 8 ประการคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ถ้าท่านสนใจหาความรู้เรื่องมรรคอย่างละเอียด ให้ท่านอ่าน บทความเรื่องมรรค 8 ในเว็บติวฟรีดูนะครับ จะมีอธิบายเอาไว้อย่างละเอียด
กิจในอริยสัจ 4
กิจในอริยสัจ คือสิ่งที่ต้องทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละข้อ ได้แก่
- ปริญญา – ทุกข์ ควรรู้ คือการทำความเข้าใจปัญหาหรือสภาวะที่เป็นทุกข์อย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง เป็นการเผชิญหน้ากับปัญหา
- เช่น การยอมรับความจริงว่าตนเองกำลังเศร้าโศกเสียใจ เป็นต้น
- ปหานะ – สมุทัย ควรละ คือการกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นการแก้ปัญหาที่เหตุต้นตอ
- เช่น การปล่อยวางความอยากได้ เป็นต้น
- สัจฉิกิริยา – นิโรธ ควรทำให้แจ้ง คือการเข้าถึงภาวะดับทุกข์ หมายถึงภาวะที่ไร้ปัญหาซึ่งเป็นจุดมุ่งหมาย
- เช่น การเห็นความจริงว่าทุกข์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและดับไป เป็นต้น
- ภาวนา – มรรค ควรเจริญ คือการฝึกอบรมปฏิบัติตามทางเพื่อให้ถึงความดับแห่งทุกข์ หมายถึงวิธีการหรือทางที่จะนำไปสู่จุดหมายที่ไร้ปัญหา
- เช่น การฝึกฝนศีล สมาธิ ปัญญา เป็นต้น
กิจทั้งสี่นี้จะต้องปฏิบัติให้ตรงกับมรรคแต่ละข้อให้ถูกต้อง การรู้จักกิจในอริยสัจนี้เรียกว่ากิจญาณ
กิจญาณเป็นส่วนหนึ่งของญาณ 3 หรือญาณทัสสนะ (สัจญาณ, กิจญาณ, กตญาณ) ซึ่งหมายถึงการหยั่งรู้ครบสามรอบ ญาณทั้งสามเมื่อเข้าคู่กับกิจในอริยสัจทั้งสี่จึงได้เป็นญาณทัสนะมีอาการ 12 ดังนี้
สัจญาณ หยั่งรู้ความจริงสี่ประการว่า
- นี่คือทุกข์
- นี่คือเหตุแห่งทุกข์
- นี่คือความดับทุกข์
- นี่คือทางแห่งความดับทุกข์
กิจญาณ หยั่งรู้หน้าที่ต่ออริยสัจว่า
- ทุกข์ควรรู้
- เหตุแห่งทุกข์ควรละ
- ความดับทุกข์ควรทำให้ประจักษ์แจ้ง
- ทางแห่งความดับทุกข์ควรฝึกหัดให้เจริญขึ้น
กตญาณ หยั่งรู้ว่าได้ทำกิจที่ควรทำได้เสร็จสิ้นแล้ว
- ทุกข์ได้กำหนดรู้แล้ว
- เหตุแห่งทุกข์ได้ละแล้ว
- ความดับทุกข์ได้ประจักษ์แจ้งแล้ว
- ทางแห่งความดับทุกข์ได้ปฏิบัติแล้ว
อริยสัจทั้ง 4 ประการนี้ มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า สามุกกังสิกเทศนา หมายถึง พระธรรมเทศนาที่พระพุทธองค์ทรงยกขึ้นแสดงเอง โดยไม่ต้องปรารภคำถามหรือการทูลขอร้องของผู้ฟังอย่างการแสดงธรรมในเรื่องอื่นๆ
อริยสัจ 4 ประการ เป็นวิธีการแห่งปัญญา ดำเนินการแก้ปัญหาตามเหตุผล ตามเหตุปัจจัย คือ การแก้ปัญหาของบุคคลด้วยปัญญาของตัวบุคคลนั้นเอง
อริยสัจ 4 เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาของชีวิต
อริยสัจ 4 เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาของชีวิต โดยช่วยให้เราเข้าใจสาเหตุของความทุกข์ และแนวทางในการดับทุกข์ ตัวอย่างเช่น หากเราประสบกับความทุกข์จากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก อริยสัจ 4 จะช่วยให้เราเข้าใจว่าความทุกข์ที่เกิดขึ้นเกิดจากความยึดมั่นในบุคคลนั้น ๆ จากนั้น เราก็จะสามารถละความยึดมั่นนั้น และปล่อยวางความทุกข์ได้
อริยสัจ 4 เป็นหนทางสู่ความหลุดพ้น
อริยสัจ 4 เป็นหนทางสู่ความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง เมื่อเราเข้าใจอริยสัจ 4 อย่างถ่องแท้ เราจะสามารถดับทุกข์ได้ โดยละสาเหตุของความทุกข์ คือ ความอยากได้ ความต้องการ ความยึดมั่น เป็นต้น ตัวอย่างเช่น หากเราเข้าใจว่าความทุกข์เกิดจากความอยากได้ เราก็จะสามารถละความอยากได้นั้น และใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ปราศจากความทุกข์
อริยสัจ 4 เป็นแนวทางในการใช้ชีวิตอย่างมีสติและปัญญา
อริยสัจ 4 เป็นแนวทางในการใช้ชีวิตอย่างมีสติและปัญญา ช่วยให้เราเข้าใจความจริงของชีวิต และดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องเหมาะสม ตัวอย่างเช่น หากเราเข้าใจว่าชีวิตเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เราก็จะสามารถปล่อยวางความยึดมั่นในสิ่งต่าง ๆ และใช้ชีวิตอย่างมีความสุข
ประโยชน์ของอริยสัจ 4
อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค หลักธรรมเหล่านี้มีคุณค่าและประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตมากมาย ดังนี้
1. อริยสัจ 4 เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาของชีวิต
ทุกข์เป็นปัญหาพื้นฐานของชีวิตมนุษย์ อริยสัจ 4 ช่วยให้เราเข้าใจสาเหตุของความทุกข์ และแนวทางในการดับทุกข์ ตัวอย่างเช่น หากเราประสบกับความทุกข์จากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก อริยสัจ 4 จะช่วยให้เราเข้าใจว่าความทุกข์ที่เกิดขึ้นเกิดจากความยึดมั่นในบุคคลนั้น ๆ จากนั้น เราก็จะสามารถละความยึดมั่นนั้น และปล่อยวางความทุกข์ได้
2. อริยสัจ 4 เป็นหนทางสู่ความหลุดพ้น
เมื่อเราเข้าใจอริยสัจ 4 อย่างถ่องแท้ เราจะสามารถดับทุกข์ได้ โดยละสาเหตุของความทุกข์ คือ ความอยากได้ ความต้องการ ความยึดมั่น เป็นต้น ตัวอย่างเช่น หากเราเข้าใจว่าความทุกข์เกิดจากความอยากได้ เราก็จะสามารถละความอยากได้นั้น และใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ปราศจากความทุกข์
3. อริยสัจ 4 เป็นแนวทางในการใช้ชีวิตอย่างมีสติและปัญญา
อริยสัจ 4 ช่วยให้เราเข้าใจความจริงของชีวิต และดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องเหมาะสม ตัวอย่างเช่น หากเราเข้าใจว่าชีวิตเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เราก็จะสามารถปล่อยวางความยึดมั่นในสิ่งต่าง ๆ และใช้ชีวิตอย่างมีความสุข
ตัวอย่างประโยชน์ของอริยสัจ 4
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างประโยชน์ของอริยสัจ 4 ในการประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
- บุคคลที่ประสบกับความทุกข์จากการพลัดพรากจากคนที่รัก สามารถปฏิบัติอริยสัจ 4 โดยพิจารณาว่าความทุกข์ที่เกิดขึ้นเกิดจากสาเหตุใด จากนั้นจึงละความยึดมั่นในสิ่งนั้น ๆ และฝึกฝนปฏิบัติตามมรรค 8 ประการ เพื่อให้สามารถปล่อยวางความทุกข์ได้
- บุคคลที่ประสบกับความทุกข์จากการทำงานหนัก สามารถปฏิบัติอริยสัจ 4 โดยพิจารณาว่าความทุกข์ที่เกิดขึ้นเกิดจากสาเหตุใด จากนั้นจึงปรับทัศนคติในการทำงาน และฝึกฝนปฏิบัติตามมรรค 8 ประการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีความสุข
- บุคคลที่ประสบกับความทุกข์จากความโลภ สามารถปฏิบัติอริยสัจ 4 โดยพิจารณาว่าความทุกข์ที่เกิดขึ้นเกิดจากสาเหตุใด จากนั้นจึงละความโลภ และฝึกฝนปฏิบัติตามมรรค 8 ประการ เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอย่างพอเพียง
อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมที่ทรงคุณค่าและมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตมากมาย หากเราเข้าใจและปฏิบัติอริยสัจ 4 อย่างถูกต้อง เราจะสามารถแก้ปัญหาของชีวิต หลุดพ้นจากความทุกข์ และดำเนินชีวิตอย่างมีสติและปัญญา
บทสรุป
อริยสัจ 4 เป็นสัจธรรมความจริงที่เกี่ยวกับชีวิตของคนทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใด อยู่ในเพศหรือภาวะใด จะต้องประสบด้วยกันทั้งสิ้น เมื่อคุณรู้แล้วว่าอริยสัจ 4 คืออะไร มีประการอะไรบ้าง พร้อมถึงความสำคัญของแต่ละประการแล้ว คุณก็สามารถที่จะปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ เพื่อผลบุญของตัวคุณเองครับ
บุคคลที่ประสบกับความทุกข์จากการพลัดพรากจากคนที่รัก สามารถปฏิบัติอริยสัจ 4 โดยพิจารณาว่าความทุกข์ที่เกิดขึ้นเกิดจากสาเหตุใด จากนั้นจึงละความยึดมั่นในสิ่งนั้น ๆ และฝึกฝนปฏิบัติตามมรรค 8 ประการ เพื่อให้สามารถปล่อยวางความทุกข์ได้
หลักธรรมของศาสนาพุทธที่ควรทราบ
ธรรมะในชีวิตประจำวัน
การนำหลักธรรมคำสอนมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ถือเป็นบุญอย่างหนึ่งของชาวพุทธ หลักการธรรมะที่เราเรียนรู้ ไม่เพียงช่วยให้เรามีสมาธิและความสงบในใจ แต่ยังช่วยให้เราทำความเข้าใจเรื่องราวของชีวิต และวิธีการรับมือกับความทุกข์ทั้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ มาดูกันว่าเราสามารถนำหลักธรรมะข้อใดมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันกันบ้าง
- อริยสัจ 4 ในชีวิตประจำวัน
- สังคหวัตถุ 4 ในชีวิตประจำวัน
- พรหมวิหาร 4 ในชีวิตประจำวัน
- อิทธิบาท 4 ในชีวิตประจำวัน
- โลกธรรม 8 ในชีวิตประจำวัน
- มรรค 8 ในชีวิตประจำวัน
- ทิศ 6 ในชีวิตประจำวัน
ที่มา:
- สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
- ราชบัณฑิตยสถาน. (2548). พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์. หน้า 65-66.
- พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). “พุทธธรรม” มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2546
Rojana Chain says
เกรท
ชิน says
ดีมครับ
ชิน says
ดีมากครับ
เชนบลัสเตอร์ says
อริยสัจ 4 มีอะไรบ้าง?
นายติวฟรี says
อริยสัจ 4 หรือความจริงทั้งสี่ประการ ประกอบไปด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรคครับ
ธีรัช says
ใครเป็นคนคิดอริยสัจ 4 หรือครับ
นายติวฟรี says
พระพุทธเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้ถึงอริยสัจ 4 และได้ถ่ายทอดความรู้ต่อให้กับปัญจวัคคีย์ หรือพระภิกษุชุดแรกของโลกครับ หลังจากนั้นก็สืบทอดคำสอนของพระพุทธเจ้าต่อกันมากว่าสองพันห้าร้อยปีจนถึงปัจจุบัน
Pithan Pongs says
ยอดเยี่ยมมากๆ
Chojuro says
ขอบคุณที่สนใจในพุทธศาสนาค่ะ
สุวรรณ สมบูรณ์ says
สุดยอดมาก
ปุ๊ก says
ขอบคุณสำหรับบทความที่มีสาระสำหรับการศึกษาธรรมะ
Super Android 13 says
ขอบคุณมากๆครับ
Amphaiporn says
แนะนำจริงๆ
Sitthichai says
ขอบคุณที่บอกเราเรื่องการมีเสน่ห์ในชีวิต
Shippo says
สุดยอดมาก
Adirake says
หลงรักครูมากค่ะ
Ladda says
ขอบคุณมากค่ะเสมอค่ะ
Vichai says
ธรรมะทำให้ฉันมีความเข้าใจและรับผิดชอบต่อชีวิต
Srin says
ขอบคุณที่สอนเราความสำคัญของความอดทน
นาครณ says
ขอบคุณสำหรับคำสอนเรื่องความสูงวัย
Suvanee says
สุดยอดมาก!
สิทธิพล says
ขอบคุณที่เสนอแนะในการพัฒนาจิตใจ