วิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มุ่งเน้นการพัฒนา และต่อยอดความรู้ ทักษะ และกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ เด็กๆ จะได้เรียนรู้เนื้อหาที่หลากหลาย และมีความซับซ้อนมากขึ้น อาทิ การนับจำนวน การบวก การลบ การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ การชั่ง และการวัด เนื้อหาเหล่านี้ มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้าง “การคิดเชิงปริมาณ” (Number sense) ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญ สำหรับการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับที่สูงขึ้น ตลอดจนการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
กระบวนการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับชั้นป.2 ยังคงเน้นการบูรณาการกิจกรรม การเล่น และการลงมือปฏิบัติ ควบคู่กับการใช้สื่อการเรียนรู้ และเทคโนโลยีที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ ค้นพบ และสร้างความเข้าใจ ในแนวคิดทางคณิตศาสตร์ อย่างสนุกสนาน และตรงตามวัย
หลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เทอมต้น
หน่วยที่ 1 จำนวน
เรื่อง 1.1 จำนวน
- การนับเพื่อบอกจำนวนและการแสดงจำนวนนับไม่เกิน 100 (โดยการนับทีละ 1 และนับทีละ 10)
- การนับเพื่อบอกจำนวนนับไม่เกิน 100 (โดยการนับทีละ 2)
- การนับเพื่อบอกจำนวนนับไม่เกิน 100 (โดยการนับทีละ 5)
- การนับเพื่อบอกจำนวน และการแสดง จำนวนนับที่มากกว่า 100 ไม่เกิน 200 (โดยการนับทีละ 10)
- การนับเพื่อบอกจำนวน และการแสดง จำนวนนับที่มากกว่า 100 ไม่เกิน 200
- การเขียน การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย ตัวหนังสือแสดงจำนวนนับที่มากกว่า 100 ไม่เกิน 200
- การนับเพื่อบอกจำนวน และการแสดง จำนวนนับที่มากกว่า 100 ไม่เกิน 1,000
- การเขียน การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย ตัวหนังสือแสดงจำนวน ไม่เกิน 1,000
- การบอกจำนวนนับไม่เกิน 1,000 ด้วยหลักลูกคิด
- หลัก ค่าของเลขโดดในแต่ละหลัก ของจำนวนนับไม่เกิน 1,000
- การเขียนในรูปกระจาย
- หลักค่าของเลขโดดในแต่ละหลักของจำนวนนับไม่เกิน 1,000 (การเขียนในรูปกระจาย)
- การเปรียบเทียบจำนวนนับไม่เกิน1,000 ที่มีจำนวนหลักไม่เท่ากัน โดยใช้เครื่องหมาย > หรือ < การเปรียบเทียบจำนวนนับไม่เกิน 1,000 ที่มีจำนวนหลักเท่ากัน โดยใช้เครื่องหมาย > หรือ < (เลขโดดในหลักร้อยเท่ากันและไม่เท่ากัน) การเปรียบเทียบจำนวนนับไม่เกิน 1,000 ที่มีจำนวนหลักเท่ากัน โดยใช้เครื่องหมาย > หรือ < (เลขโดดในหลักร้อยและหลักสิบเท่ากัน)
- การเรียงลำดับจำนวนสามหลัก 3 จำนวน
- การเรียงลำดับจำนวนนับไม่เกิน 1,000 (4 – 5 จำนวน)
- จำนวนคู่และจำนวนคี่
- ร่วมคิดร่วมทำ “จำนวนที่ฉันสร้าง”
หน่วยที่ 2 การดำเนินการของจำนวน
เรื่อง 2.1 การดำเนินการของจำนวน
- การบวกจำนวนสองจำนวนที่ผลบวกไม่เกิน 100 2. การลบจำนวนสองจำนวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 100
- การบวกจำนวนนับที่ผลบวกไม่เกิน 100 โดยใช้เส้นจำนวน
- การหาผลบวกของจำนวนนับที่ผลบวกไม่เกิน 1,000 ไม่มีการทด โดยใช้ แผ่นตารางร้อย แผ่นตารางสิบ และแผ่นตารางหน่วย
- การบวกจำนวนสองจำนวน โดยการตั้งบวก
- การบวกจำนวนสองจำนวน มีการทด โดยใช้แผ่นตารางร้อย แผ่นตารางสิบ และแผ่นตารางหน่วย
- การบวกจำนวนสองจำนวน โดยการตั้งบวก
- การบวกจำนวนสามจำนวน
- การบวกจำนวนสามจำนวนที่ผลบวกไม่เกิน 1,000 โดยการตั้งบวก
- การหาผลลบที่ตัวตั้งไม่เกิน 100 โดยใช้เส้นจำนวน
- การหาผลลบของจำนวนที่ตัวตั้ง ไม่เกิน 1,000 ไม่มีการกระจาย
- การหาผลลบของจำนวนที่ตัวตั้ง ไม่เกิน 1,000 มีการกระจาย
- การหาผลลบของจำนวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 1,000 โดยการตั้งลบ มีการกระจาย 1 หลัก
- การหาผลลบที่ตัวตั้งไม่เกิน 1,000 โดยการตั้งลบ มีการกระจาย 2 หลัก
- การหาผลลบของจำนวนสามจำนวน โดยการตั้งลบ
- ความสัมพันธ์ของการบวกและการลบ
- การหาตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์การบวกและประโยคสัญลักษณ์การลบ โดยใช้ความสัมพันธ์ของการบวกและการลบ
- การหาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์การบวกและประโยคสัญลักษณ์การลบ โดยใช้ความสัมพันธ์ของการบวกและการลบ
- โจทย์ปัญหาการบวก โจทย์ปัญหาการลบ ที่ผลลัพธ์ไม่เกิน 1,000
- โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ จากสถานการณ์ที่มีคำว่ามากกว่า
- โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหา การลบจากสถานการณ์ที่มีคำว่าน้อยกว่า
- โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ จากสถานการณ์ที่มีตัวไม่ทราบค่า
- การแก้โจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบ จากสถานการณ์ที่มีตัวไม่ทราบค่า
- โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ 2 ขั้นตอน
- โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ 2 ขั้นตอน (3)
- การสร้างโจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบจากภาพ
- การสร้างโจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบจากประโยคสัญลักษณ์
- การบวกและการลบที่ผลลัพธ์ไม่เกิน 1,000 พร้อมหาคำตอบ
หน่วยที่ 3 เรขาคณิต
เรื่อง 3.1 เรขาคณิต
- รูปเรขาคณิตสามมิติ รูปเรขาคณิตสองมิติ รูปปิดและรูปเปิด
- รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลม และวงรี
- รูปหลายเหลี่ยม
- การสร้างรูปหลายเหลี่ยม โดยใช้กระดานตะปู
- การสร้างรูปหลายเหลี่ยม โดยใช้กระดาษจุด
- วงกลมและวงรี
- รูปเรขาคณิตในชีวิตจริง
- การเขียนรูปเรขาคณิตสองมิติ โดยใช้แบบของรูป
- การเขียนรูปเรขาคณิตสองมิติ โดยใช้แบบของรูป (2)
- รูปเรขาคณิตสองมิติ
หน่วยที่ 4 แบบรูป
เรื่อง 4.1 แบบรูป
- แบบรูปซ้ำของรูปเรขาคณิตและรูปอื่น ๆ โดยสมาชิกในแต่ละชุดที่ซ้ำมี 2 รูป
- แบบรูปซ้ำของรูปเรขาคณิตและรูปอื่น ๆ โดยสมาชิกในแต่ละชุดที่ซ้ำมี 3 หรือ 4 รูป
- การหารูปที่หายไปในแบบรูปซ้ำของรูปเรขาคณิตและรูปอื่น ๆ โดยสมาชิกในแต่ละชุดที่ซ้ำมี 3 หรือ 4 รูป
- แบบรูปซ้ำของรูปเรขาคณิตและรูปอื่น ๆ โดยในแต่ละชุดที่ซ้ำมีสมาชิก 2 รูป 3 รูป และ 4 รูป
- แบบรูปซ้ำของรูปเรขาคณิตและรูปอื่น ๆ โดยสมาชิกในแต่ละชุดที่ซ้ำมี 3 หรือ 4 รูป
- แบบรูปของจำนวนที่เพิ่มขึ้นทีละ 2 และ ลดลงทีละ 2
- แบบรูปของจำนวนที่เพิ่มขึ้นทีละ 5 และ ลดลงทีละ 5
- แบบรูปของจำนวนที่เพิ่มขึ้นทีละ 10 ทีละ 100 และลดลงทีละ 10 ทีละ 100
- แบบรูปของจำนวนที่เพิ่มขึ้นและลดลงทีละ 2 ทีละ 5 ทีละ 10 ทีละ 100
- การสร้างแบบรูปของจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงทีละ 2 ทีละ 5 ทีละ 10 ทีละ 100
หน่วยที่ 5 เวลา
เรื่อง 5.1 เวลา
- ช่วงเวลา กลางวัน กลางคืน
- ช่วงเวลาระหว่างวัน เช้า สาย เที่ยง บ่าย เย็น
- การบอกระยะเวลาอย่างง่าย
- นาฬิกาแบบต่าง ๆ และส่วนประกอบของนาฬิกาแบบเข็ม 2. การบอกเวลาและการแสดงเวลาเป็นนาฬิกาในช่วงกลางวัน
- การบอกเวลาและการแสดงเวลาเป็นนาฬิกาในช่วงกลางคืน
- การบอกเวลาเป็นนาฬิกาและนาที (5 นาที) ในเวลากลางวัน
- การบอกเวลาเป็นนาฬิกาและนาที (5 นาที) ในเวลากลางคืน
- การแสดงเวลาบนหน้าปัดนาฬิกาในเวลากลางวัน กลางคืน
- การบอกเวลาเป็นนาฬิกาและนาที ด้วยนาฬิกาแบบตัวเลข
- การบอกระยะเวลาเป็นชั่วโมง
- การบอกระยะเวลาเป็นนาที
- โจทย์ปัญหาการบวก การลบ เกี่ยวกับเวลาเป็นชั่วโมง เป็นนาที
- ชื่อวันและการเรียงลำดับของวัน ในหนึ่งสัปดาห์
- การอ่านวันและวันที่ในปฏิทิน
- การอ่านปฏิทิน รู้จักเดือน อันดับที่ของเดือน และเดือนในหนึ่งปี จำนวนวันในหนึ่งเดือน จำนวนวันในหนึ่งปี วันสำคัญในหนึ่งปี
- การอ่าน วัน เดือน ปี ที่เขียนแบบย่อ
- โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเวลา (วัน เดือน ปี) และโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการอ่านปฏิทิน
- ร่วมคิด ร่วมทำ “เวลานี้เราทำอะไร”
หลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เทอมต้น
หน่วยที่ 2 การดำเนินการของจำนวน
เรื่อง 1.1 การดำเนินการของจำนวน
- การหาจํานวนทั้งหมดเมื่อกําหนดกลุ่มของสิ่งต่าง ๆ ที่แต่ละกลุ่มมีจํานวนเท่ากัน (Equal group)
- ความหมายการคูณ : การหาจํานวนทั้งหมด เมื่อกําหนดกลุ่มของสิ่งต่าง ๆ ที่แต่ละกลุ่มมีจํานวนเท่ากัน (Equal group)
- ความหมายการคูณ: การหาจํานวนทั้งหมดเมื่อกําหนดแถวของสิ่งต่าง ๆ ที่แต่ละแถว มีจํานวนเท่ากัน (Array model)
- การสลับที่การคูณ
- การคูณจำนวนใด ๆ ด้วย 1 และ 0
- 2 คูณกับจํานวนหนึ่งหลัก
- 3 คูณกับจํานวนหนึ่งหลัก
- จํานวนหนึ่งหลักใด ๆ คูณกับ 2 และ 3
- 4 คูณกับจํานวนหนึ่งหลัก
- จํานวนหนึ่งหลักคูณกับ 4
- 5 คูณกับจํานวนหนึ่งหลัก
- 6 คูณกับจํานวนหนึ่งหลัก
- จํานวนหนึ่งหลักคูณกับ 5 และ 6
- 6 คูณกับจํานวนหนึ่งหลัก
- 7 คูณกับจํานวนหนึ่งหลัก
- 8 คูณกับจํานวนหนึ่งหลัก
- 9 คูณกับจํานวนหนึ่งหลัก
- 10 คูณกับจํานวนหนึ่งหลัก
- การหาผลคูณของจํานวนหนึ่งหลักกับ 10 20 30 … 90
- การหาผลคูณของจํานวนหนึ่งหลักกับจํานวนสองหลักโดยใช้แผ่นตารางสิบและแผ่นตารางหน่วย
- การหาผลคูณของจำนวนหนึ่งหลักกับจำนวนสองหลักโดยการตั้งคูณ (ไม่มีการทด)
- การหาผลคูณของจำนวนหนึ่งหลักกับจำนวนสองหลัก โดยการตั้งคูณ
- การพัฒนาความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับการคูณ
- การหาค่าของตัวไม่ทราบค่า ในประโยคสัญลักษณ์การคูณ
- โจทย์ปัญหาการคูณจำนวนหนึ่งหลักกับจำนวนไม่เกินสองหลัก
- การสร้างโจทย์ปัญหาการคูณจากภาพ
- การสร้างโจทย์ปัญหาการคูณจากประโยคสัญลักษณ์
- การจัดตัวนับเป็นกลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ กัน
- ความหมายการหาร (กำหนดจำนวนในแต่ละกลุ่ม หาจำนวนกลุ่ม)
- ความหมายการหาร (กำหนดจำนวนกลุ่ม หาจำนวนในแต่ละกลุ่ม)
- การหาผลหารโดยใช้ตัวนับ
- การหารลงตัว และการหารไม่ลงตัว
- ความสัมพันธ์ของการคูณและการหาร
- การหาผลหารโดยใช้ความสัมพันธ์ของการคูณ และการหาร
- การหาผลหารและเศษ
- การเปรียบเทียบผลหารที่ตัวตั้งเป็นจำนวนเดียวกัน
- การเปรียบเทียบผลหารที่ตัวหารเป็นจำนวนเดียวกัน
- การหาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์การหาร
- การแก้โจทย์ปัญหาการหารที่เป็นการหารลงตัว
- การแก้โจทย์ปัญหาการหารที่เป็นการหารไม่ลงตัว
- การแก้โจทย์ปัญหาการหารทั้งที่เป็นการหารลงตัว และเป็นการหารไม่ลงตัว
- การสร้างโจทย์ปัญหาการหารจากภาพ
- การสร้างโจทย์ปัญหาการหารจากประโยคสัญลักษณ์การหาร
- การคูณและการหาร
- การหาผลบวก ผลลบ ผลคูณ ผลหาร จํานวนไม่เกิน 1,000
- การหาค่าตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์การบวก การลบ การคูณและการหารจํานวนไม่เกิน 1,000
- การหาผลลัพธ์ของการบวก ลบระคน
- การหาผลลัพธ์ของการคูณ หารระคน
- การหาผลลัพธ์ของการบวก ลบ คูณ หารระคน
- การหาผลลัพธ์ของการบวก ลบ คูณ หาร ระคนที่มี 2 วงเล็บ
- สถานการณ์ การบวก ลบระคน
- โจทย์ปัญหาการบวก ลบระคน
- สถานการณ์ การบวก ลบ คูณ หาร ระคน
- โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน
- การหาผลลัพธ์ของการบวก ลบ คูณ หารระคน
- การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน
หน่วยที่ 6 การวัด
เรื่อง 2.1 การวัด
- การวัดความยาว หรือความสูงเป็นเซนติเมตร (เต็มหน่วยเซนติเมตร และไม่เต็มหน่วยเซนติเมตร)
- การวัดความยาว หรือความสูงเป็นเมตร (เต็มหน่วยเมตร และไม่เต็มหน่วยเมตร)
- การคาดคะเนความยาว หรือความสูงเป็นเมตร
- การวัดความยาวหรือความสูงเป็นเมตร และเซนติเมตร
- ความสัมพันธ์ระหว่างเมตร และเซนติเมตร
- การแก้ปัญหาการวัดความยาว หรือความสูงเป็นเซนติเมตร (แบบฝึกหัด)
- การเปรียบเทียบความยาว หรือความสูงโดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างเมตร และเซนติเมตร
- การเรียงลำดับความยาว หรือความสูงเป็นเมตร และเซนติเมตร
- การวัด และเปรียบเทียบระยะทางเป็นเมตร และเซนติเมตร
- การบวก การลบ เกี่ยวกับความยาว หรือความสูงที่มีหน่วยเป็นเมตร และเซนติเมตร
- โจทย์ปัญหาการบวก การลบ เกี่ยวกับความยาว ความสูง หรือ ระยะทางที่มีหน่วยเป็นเมตร และเซนติเมตร
- ร่วมคิดร่วมทำ
- การวัดน้ำหนักเป็นกิโลกรัม และขีด
- การวัดน้ำหนักเป็นกิโลกรัม และกรัม
- การคาดคะเนน้ำหนักเป็นกิโลกรัม
- ความสัมพันธ์ของหน่วยน้ำหนักระหว่างกิโลกรัม และขีดกับขีด กิโลกรัม และกรัม กับขีด และกรัมกับขีด
- การเปรียบเทียบน้ำหนักที่มีหน่วยเดียวกัน
- การเปรียบเทียบน้ำหนักที่มีหน่วยต่างกัน
- การบวกน้ำหนักของสิ่งต่าง ๆ
- การลบน้ำหนักของสิ่งต่าง ๆ
- โจทย์ปัญหาการบวก การลบ เกี่ยวกับน้ำหนัก
- โจทย์ปัญหาการบวก การลบ เกี่ยวกับน้ำหนักที่มีคำว่ามากกว่า น้อยกว่า
- ร่วมคิดร่วมทำ
- การบอกปริมาตรของของเหลวจากการสังเกตระดับของของเหลวในภาชนะ
- การเปรียบเทียบปริมาตรของของเหลวโดยตรง
- การวัดปริมาตรของของเหลวด้วยเครื่องตวงที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
- การเปรียบเทียบ และเรียงลำดับปริมาตรของของเหลวด้วยเครื่องตวง ที่มีหน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
- การวัดปริมาตรของของแห้งด้วยเครื่องตวงที่มีหน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
- การเปรียบเทียบและเรียงลำดับปริมาตรของของแห้งที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
- การวัดและบอกปริมาตรของของเหลว และของแห้งเป็นลิตร
- การคาดคะเนปริมาตรของสิ่งต่าง ๆ ว่ามากกว่า หรือน้อยกว่า 1 ลิตร
- การเปรียบเทียบ และเรียงลำดับปริมาตรของของแห้งและของเหลวเป็นลิตร
- การวัดปริมาตรของของแห้งและของเหลวโดยใช้ช้อนตวงเป็นเครื่องตวง
- การวัด และเปรียบเทียบปริมาตรเป็นถ้วยตวง ของแห้ง ถ้วยตวงของเหลว
- ความจุของภาชนะที่เป็นลิตร
- การเปรียบเทียบ และเรียงลำดับความจุของภาชนะ
- โจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบ เกี่ยวกับปริมาตรของของแห้งและของเหลว
- โจทย์ปัญหาการบวกและการลบเกี่ยวกับปริมาตรและความจุที่มีตัวไม่ทราบค่า
- การตวงของแห้งและการตวงของเหลวด้วยถ้วยตวงหรือช้อนตวง
หน่วยที่ 7 สถิติ
เรื่อง 3.1 สถิติ
- แผนภูมิรูปภาพที่กำหนดรูป 1 รูป แทน 1 หน่วย
- แผนภูมิรูปภาพที่กำหนดรูป 1 รูป แทน 2 หน่วย
- แผนภูมิรูปภาพที่กำหนดรูป 1 รูป แทน 5 หน่วย
- แผนภูมิรูปภาพที่กำหนดรูป 1 รูป แทน 10 หน่วย
- การแก้โจทย์ปัญหาจากแผนภูมิรูปภาพที่กำหนดรูป 1 รูป แทน 2 หน่วย 5 หน่วย และ 10 หน่วย
- การแก้ปัญหาเกี่ยวกับการหารายการที่ไม่ทราบจากแผนภูมิรูปภาพที่กำหนดรูป 1 รูป แทน 2 หน่วย 5 หน่วย และ 10 หน่วย
- แผนภูมิรูปภาพที่กำหนดรูป 1 รูป แทน 2 หน่วย 5 หน่วย และ 10 หน่วย
บทสรุป
เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เปรียบเสมือนการวาง “อิฐบล็อกแห่งความรู้” ก้อนต่อไป บนรากฐานที่แข็งแรง มุ่งเน้นการพัฒนา ทั้ง “ทักษะพื้นฐาน” (Basic skills) และ “ความคิดเชิงตรรกะ” (Logical thinking) เตรียมความพร้อมให้เด็กๆ ก้าวสู่การเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนมากขึ้น ในระดับชั้นที่สูงขึ้น ส่งผลต่อการพัฒนา “ความสามารถในการแก้ปัญหา” (Problem-solving skills) และ “การคิดวิเคราะห์” (Critical thinking skills) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นทักษะสำคัญ สำหรับการใช้ชีวิต และการเรียนรู้ ในอนาคต
เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมตอนต้น
เครดิตที่มาของข้อมูล
- DLTV วิชาคณิตศาสตร์ โดยครูครูพีระพงษ์ เย็นทรวงและครูเสาวลักษณ์ พันธ์มอญ
ร่วมแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ “เนื้อหา คณิตศาสตร์ ป.2 อัพเดทล่าสุด ตามหลักสูตรกระทรวง”