ก้าวข้าสู่การเรียนรู้ที่ท้าทายยิ่งขึ้น วิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษา 3 มุ่งเน้นการพัฒนา และต่อยอดความรู้ ทักษะ และกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ อย่างเข้มข้น เนื้อหาในระดับชั้นนี้ มีความหลากหลาย และมีความซับซ้อนมากขึ้น ครอบคลุม การบวก, การลบ, การคูณ, การหาร, การแก้ปัญหาเกี่ยวกับปริมาณ, การวัด, การบอกเวลา, การอ่าน และการเขียนแผนภูมิ, ตลอดจน การคิดเกี่ยวกับรูปทรง เนื้อหาเหล่านี้ มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความคิดเชิงนามธรรม (Abstract thinking) ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญ สำหรับการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับที่สูงขึ้น
กระบวนการเรียนรู้ยังคงเน้นการบูรณาการกิจกรรม การเล่น และการลงมือปฏิบัติ ควบคู่กับการใช้สื่อการเรียนรู้ และเทคโนโลยีที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ ค้นพบ และสร้างความเข้าใจ ในแนวคิดทางคณิตศาสตร์ อย่างสร้างสรรค์ และมีประสิทธิภาพ
หลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เทอมต้น
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 จำนวนนับไม่เกิน 100,000
เรื่อง 1.1 จำนวนนับไม่เกิน 100,000
- ทบทวนการเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย และตัวหนังสือ แสดงจำนวนนับไม่เกิน 1,000
- ทบทวนหลัก ค่าของเลขโดดในแต่ละหลักของจำนวนนับไม่เกิน 1,000 และการเขียนในรูปกระจาย
- การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย และตัวหนังสือ แสดงจำนวนนับไม่เกิน 10,000
- การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย และตัวหนังสือ แสดงจำนวนนับไม่เกิน 100,000
- หลักและค่าของเลขโดดในแต่ละหลัก
- การเขียนจำนวนนับไม่เกิน 100,000 ในรูปกระจาย
- การเปรียบเทียบจำนวนสองจำนวนที่มีจำนวนหลักไม่เท่ากัน
- การเปรียบเทียบจำนวนนับสองจำนวนไม่เกิน 100,000 ที่มีจำนวนหลักเท่ากัน
- การเรียงลำดับจำนวนนับไม่เกิน 100,000 สามจำนวน
- การเรียงลำดับจำนวนนับไม่เกิน 100,000 ห้าจำนวน
- แบบรูปของจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือ ลดลงทีละเท่า ๆ กัน (การหาจำนวนถัดไป)
- แบบรูปของจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงทีละเท่า ๆ กัน (การหาจำนวนที่หายไป)
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การดำเนินการของจำนวน
เรื่อง 2.1 หน่วยย่อยที่ 2.1 การบวกและการลบ
- การหาผลบวก ผลลบ จำนวนนับไม่เกิน 1,000
- การหาผลบวกโดยการตั้งบวกไม่มีการทดที่มีผลบวกไม่เกิน 100,000
- การหาผลบวกโดยการตั้งบวก ที่มีการทด 1 หลัก ที่ผลบวกไม่เกิน 100,000
- การหาผลบวกโดยการตั้งบวกที่มีการทดมากกว่า 1 หลักที่ผลบวกไม่เกิน 100,000
- การตรวจสอบความสมเหตุสมผลของคำตอบจากโจทย์การบวกจำนวนนับไม่เกิน 100,000
- การหาผลลบโดยการตั้งลบที่ตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ไม่มีการกระจาย
- การหาผลลบโดยการตั้งลบที่ตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ที่มีการกระจาย 1 หลัก
- การหาผลลบโดยการตั้งลบที่ตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ที่มีการกระจายมากกว่า 1 หลัก
- การตรวจสอบความสมเหตุสมผลของคำตอบจากโจทย์การลบ
- การหาเลขโดดที่หายไปในหลักต่าง ๆ ของการบวกและการลบในแนวตั้ง
- การหาตัวไม่ทราบค่าในประโยค สัญลักษณ์การบวกและประโยค สัญลักษณ์การลบโดยใช้ความสัมพันธ์ของการบวกและการลบ
- โจทย์ปัญหาการบวกและการลบที่ผลลัพธ์ไม่เกิน 100,000
- โจทย์ปัญหาการบวกและการลบจากสถานการณ์ที่มีคำว่ามากกว่า
- โจทย์ปัญหาการบวกและการลบจากสถานการณ์ที่มีคำว่าน้อยกว่า
- โจทย์ปัญหาการบวกและการลบจากสถานการณ์ที่มีตัวไม่ทราบค่า
- การสร้างโจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรขาคณิต
เรื่อง 3.1 เรขาคณิต
- รูปเรขาคณิตสองมิติ
- รูปที่มีแกนสมมาตร และรูปที่ไม่มีแกนสมมาตร
- จำนวนแกนสมมาตรของรูปสี่เหลี่ยมและรูปสามเหลี่ยม
- จำนวนแกนสมมาตรของวงกลม วงรี รูปหลายเหลี่ยม และรูปอื่น ๆ
- การพัฒนาความสามารถในการนึกภาพ (Visualization) เกี่ยวกับรูปที่มีแกนสมมาตร
- การพัฒนาความสามารถในการนึกภาพ (Visualization) เกี่ยวกับรูปเรขาคณิตสองมิติ
- การพัฒนาความสามารถในการนึกภาพ (Visualization) เกี่ยวกับรูปที่มีแกนสมมาตร
- ประโยชน์ของรูปสองมิติที่มีแกนสมมาตร
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เวลา
เรื่อง 4.1 เวลา
- การบอกเวลาเป็นนาฬิกาและนาที
- การอ่านและเขียนบอกเวลาที่มีมหัพภาค ( . ) หรือทวิภาค ( : )
- การบอกระยะเวลาเป็นชั่วโมงและนาที
- การเปลี่ยนหน่วยเวลาที่มีหน่วยชั่วโมงและนาทีเป็นนาที
- การเปลี่ยนหน่วยเวลาที่มีหน่วยนาทีเป็นชั่วโมงและนาที
- การเปรียบเทียบระยะเวลาที่มีหน่วยเดียวกันและหน่วยต่างกัน
- การอ่านและเขียนบันทึกกิจกรรมที่ระบุเวลา
- โจทย์ปัญหาการบวกและการลบเกี่ยวกับเวลาและระยะเวลา
- โจทย์ปัญหาการคูณเกี่ยวกับเวลาและระยะเวลา
- โจทย์ปัญหาการหารเกี่ยวกับเวลาและระยะเวลา
- ร่วมคิดร่วมทำ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เศษส่วน
เรื่อง 5.1 เศษส่วน
- ปริมาณของสิ่งต่าง ๆ ที่เต็มหน่วยไม่เต็มหน่วยและครึ่งหน่วย
- การบอกและการเขียนแสดงปริมาณของสิ่งต่าง ๆ เป็นเศษส่วน
- เศษส่วนที่เท่ากับ
- 1 หน่วยของเศษส่วน
- การเปรียบเทียบเศษส่วนที่ตัวส่วนเท่ากัน
- การเรียงลำดับเศษส่วนที่ตัวส่วนเท่ากัน
- การเปรียบเทียบเศษส่วนที่ตัวเศษเท่ากัน
- เศษส่วนที่เท่ากับ 1/2
- การเปรียบเทียบเศษส่วนโดยเทียบเคียงกับ 1/2 และ 1
- การเรียงลำดับเศษส่วนที่ตัวเศษเท่ากัน
- การเรียงลำดับเศษส่วนโดยใช้การเทียบเคียงกับ 1/2 หรือ 1
- การบวกเศษส่วนที่มีตัวส่วนเท่ากันและผลบวกไม่เกิน 1
- การหาผลลบของเศษส่วนที่มีตัวส่วนเท่ากัน
- การแก้โจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนเท่ากัน
- ความหมายของเศษส่วน การเปรียบเทียบเศษส่วน การบวกเศษส่วน การลบเศษส่วน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 สถิติ
เรื่อง 6.1 สถิติ
- การอ่านแผนภูมิรูปภาพเมื่อกำหนดรูป 1 รูปแทน 2 หน่วย 5 หน่วย หรือ 10 หน่วย
- การใช้ข้อมูลจากแผนภูมิรูปภาพในการหาคำตอบของโจทย์ปัญหา
- การอ่านแผนภูมิรูปภาพ เมื่อกำหนดรูป 1 รูปแทนด้วยข้อกำหนดอื่น ๆ
- การใช้ข้อมูลจากแผนภูมิรูปภาพในการหาคำตอบ
- การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสอบถาม
- การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกต
- เขียนแผนภูมิรูปภาพเมื่อกำหนด 1 รูปแทน 2 หน่วย
- การเขียนแผนภูมิรูปภาพเมื่อกำหนดหนึ่งรูปแทน 5 หน่วย
- การเขียนแผนภูมิรูปภาพเมื่อกำหนดหนึ่งรูปแทน 10 หน่วย
- การตั้งคำถามเพื่อค้นหาคำตอบจากประเด็นที่สนใจ
- การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสอบถามและการสังเกต
- การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิรูปภาพ
- การอ่านตารางทางเดียว
- การเขียนตารางทางเดียว
- การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิรูปภาพและตารางทางเดียว
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เงิน
เรื่อง 7.1 เงิน
- ชนิดและค่าของเงินเหรียญ
- การเปรียบเทียบค่าของเงินเหรียญ
- เงินเหรียญชนิดต่าง ๆ
- ธนบัตรชนิดต่าง ๆ
- การแลกเงินเหรียญ
- ธนบัตรชนิดต่าง ๆ และการแลกเงิน
- การบอกจำนวนเงินเป็นบาทและสตางค์
- การบอกจำนวนเงิน ทั้งหมดเป็นบาทและสตางค์
- การเขียนบอกจำนวนเงินโดยใช้จุดและการอ่าน
- การเปรียบเทียบจำนวนเงิน
- การบวกและการลบจำนวนเงิน
- การคูณจำนวนเงิน
- การหารจำนวนเงิน
- เงินทอน
- การแก้โจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบเกี่ยวกับเงิน
- การแก้โจทย์ปัญหาการคูณและโจทย์ปัญหาการหารเกี่ยวกับเงิน
- การอ่านบันทึกรายรับรายจ่าย
- การเขียนบันทึกรายรับรายจ่าย
- ทบทวนเรื่อง เงินและการนำเงินไปใช้ – การแลกเงิน – การเปรียบเทียบจำนวนเงิน – การเขียนจำนวนเงินโดยใช้จุด – การเขียนบันทึกรายรับรายจ่าย
หลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เทอมต้น
หน่วยที่ 2 การดำเนินการของจำนวน
เรื่อง 1.1 หน่วยย่อยที่ 2.2 การคูณ การหาร
- การหาผลคูณของจำนวนหนึ่งหลักกับ 10 20 30 …90
- การหาผลคูณของจำนวนหนึ่งหลักกับ 100 200 300 … 900
- การหาผลคูณของจำนวนหนึ่งหลักกับ 1,000 2,000 3,000 … 9,000
- การหาผลคูณจำนวนหนึ่งหลักกับจำนวนสามหลักโดยการตั้งคูณ
- การหาผลคูณจำนวนหนึ่งหลัก กับจำนวนสามหลัก โดยการตั้งคูณ
- การหาผลคูณจำนวนหนึ่งหลัก กับจำนวนสามหลัก โดยการตั้งคูณ
- การหาผลคูณของจำนวนหนึ่งหลักกับจำนวนสี่หลักโดยการตั้งคูณ
- การหาผลคูณของจำนวนสองหลักกับ 10 20 30 … 90
- การหาผลคูณของจำนวนสองหลักกับจำนวนสองหลักโดยการตั้งคูณ
- การพัฒนาความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับการคูณ
- การหาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์แสดงการคูณ
- การแก้โจทย์ปัญหาการคูณ
- การสร้างโจทย์ปัญหาการคูณ
- กิจกรรมร่วมคิดร่วมทำ “วงล้อตัวเลขกับการคูณ”
- ทบทวนการหาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์การหารที่ตัวตั้งไม่เกินสองหลัก ตัวหารหนึ่งหลัก
- การหาผลหารที่ตัวตั้งสองหลัก ตัวหารและผลหารหนึ่งหลัก และเป็นการหารลงตัว โดยการหารยาว
- การหาผลหารที่ตัวตั้งสองหลัก ตัวหารและผลหารหนึ่งหลักและเป็นการหารไม่ลงตัว โดยการหารยาว
- การหาผลหารที่ตัวตั้งสองหลัก ตัวหารหนึ่งหลักและผลหารสองหลักโดยการหารยาว และเป็นการหารลงตัว
- การหาผลหารที่ตัวตั้งสองหลัก ตัวหารหนึ่งหลักและผลหารสองหลักโดยการหารยาวและเป็นการหารไม่ลงตัว
- การหาผลหารที่ตัวตั้งสามหลัก และตัวหารหนึ่งหลัก โดยการหารยาวและเป็นการหารลงตัว
- การหาผลหารที่ตัวตั้งสามหลัก และตัวหารหนึ่งหลัก โดยการหารยาวและเป็นการหารไม่ลงตัว
- การหาผลหารที่ตัวตั้งสี่หลัก และตัวหารหนึ่งหลัก โดยการหารยาวและเป็นการหารลงตัว
- การหาผลหารที่ตัวตั้งสี่หลัก และตัวหารหนึ่งหลักโดยการหารยาวและเป็นการหารไม่ลงตัว
- การหารที่ตัวตั้งไม่เกินสี่หลัก และตัวหารหนึ่งหลัก โดยการหารสั้นและเป็นการหารลงตัว
- การหาผลหารที่ตัวตั้งไม่เกิน สี่หลัก และตัวหารหนึ่งหลัก โดยการหารสั้นและเป็นการหารไม่ลงตัว
- การหาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์การหารที่ ตัวตั้งไม่เกินสี่หลัก
- การแก้โจทย์ปัญหาการหารที่ตัวตั้งไม่เกินสี่หลักและตัวหารหนึ่งหลักและเป็นการหารลงตัว
- การแก้โจทย์ปัญหาการหารที่ ตัวตั้งไม่เกินสี่หลักและตัวหารหนึ่งหลักและเป็นการหารไม่ลงตัว
- การสร้างโจทย์ปัญหาการหารจากภาพและประโยคสัญลักษณ์การหาร
- กิจกรรมร่วมคิดร่วมทำ “เติมเลขโดดที่หายไป”
- ทบทวนการบวก ลบ คูณ หารระคน จำนวนนับไม่เกิน 1,000
- การบวก ลบระคน
- การคูณ หารระคน
- การบวก ลบ คูณ หารระคน
- การบวก ลบ คูณ หารระคน (ที่มี 2 วงเล็บ)
- การพัฒนาความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับการบวก ลบ คูณ หารระคน
- สถานการณ์การบวก ลบระคน
- สถานการณ์การคูณ หารระคน
- สถานการณ์การบวก ลบ คูณ หารระคน
- โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน
- การสร้างโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน
- การหาผลลัพธ์ของการบวก ลบ คูณ หารระคน
- การแก้โจทย์ปัญหาการบวกลบ คูณ หารระคน
หน่วยที่ 8 การวัด
เรื่อง 2.1 การวัด
- ทบทวนการวัดและบอกความยาวของสิ่งต่าง ๆ เป็นเมตรและเซนติเมตร
- การวัดและบอกความยาวเป็นเซนติเมตรและมิลลิเมตร
- การคาดคะเนความยาวเป็นเมตรและเป็นเซนติเมตร (แบบฝึกหัด และใบกิจกรรม)
- การแก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัดความยาว
- การบอกระยะทางเป็นกิโลเมตรและเมตร
- ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยความยาว
- การเปรียบเทียบความยาวโดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยความยาว
- การเลือกเครื่องวัดความยาวและหน่วยวัดความยาวที่เหมาะสม
- การบวกและการลบเกี่ยวกับความยาว
- การคูณเกี่ยวกับความยาว
- การหารเกี่ยวกับความยาว (แบบฝึกหัด)
- โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบเกี่ยวกับความยาว
- โจทย์ปัญหาการคูณ และโจทย์ปัญหาการหารเกี่ยวกับความยาว
- ร่วมคิดร่วมทำ
- ทบทวนการวัดและบอกน้ำหนักเป็นกิโลกรัมและขีด กิโลกรัมและกรัม
- การวัดและบอกน้ำหนักเป็นกิโลกรัมและขีด กิโลกรัมและกรัม
- เครื่องชั่งน้ำหนักแบบต่าง ๆ
- การวัดและบอกน้ำหนักเป็นกิโลกรัมและกรัม
- เครื่องชั่งน้ำหนักชนิดต่าง ๆ
- การแนะนำหน่วยน้ำหนัก เมตริกตัน (metric ton) หรือ ตัน (ton)
- การเลือกเครื่องชั่งที่เหมาะสมและการเลือกใช้หน่วยน้ำหนักที่เหมาะสม
- การคาดคะเนน้ำหนักเป็นกิโลกรัม และเป็นขีด
- ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยน้ำหนักกิโลกรัมและกรัมกับกรัม
- ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยน้ำหนักตันและกิโลกรัมกับกิโลกรัม
- การเปรียบเทียบน้ำหนัก (แบบฝึกหัด)
- การบวกและการลบเกี่ยวกับน้ำหนัก
- การคูณเกี่ยวกับน้ำหนัก
- การหารเกี่ยวกับน้ำหนัก
- โจทย์ปัญหาการบวกและการลบเกี่ยวกับน้ำหนัก
- โจทย์ปัญหาการบวกและการลบเกี่ยวกับน้ำหนักที่มีคำว่ามากกว่า น้อยกว่า
- โจทย์ปัญหาการคูณและการหารเกี่ยวกับน้ำหนัก
- ร่วมคิดร่วมทำ
- การวัดปริมาตรของของเหลวและของแห้งด้วยเครื่องตวงที่มีหน่วยมาตรฐาน
- การวัดและบอกปริมาตรของของเหลวเป็นมิลลิลิตร
- การวัดปริมาตรและความจุเป็นลิตรและมิลลิลิตร
- การเลือกเครื่องตวงที่เหมาะสม
- การคาดคะเนปริมาตรและความจุเป็นลิตร
- ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยปริมาตร
- การเปรียบเทียบปริมาตรและความจุ
- การบวกและการลบเกี่ยวกับปริมาตรและความจุ
- การคูณเกี่ยวกับปริมาตรและความจุ
- การหารเกี่ยวกับปริมาตรและความจุ
- โจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบเกี่ยวกับปริมาตรและความจุ
- โจทย์ปัญหาการคูณและโจทย์ปัญหาการหารเกี่ยวกับปริมาตรและความจุ
บทสรุป
เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เปรียบเสมือนการก้าวข้าม “สะพานแห่งความรู้” ไปสู่การเรียนรู้ที่ซับซ้อน และท้าทายมากขึ้น มุ่งเน้นการพัฒนา ทั้งทักษะการคำนวณ (Computational skills) การคิดวิเคราะห์ (Critical thinking skills) และการแก้ปัญหา (Problem-solving skills) อย่างเป็นขั้นตอน เตรียมความพร้อมให้เด็กๆ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ ในสถานการณ์จริง และเป็นรากฐานที่มั่นคง สำหรับการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมตอนต้น
เครดิตที่มาของข้อมูล
- DLTV วิชาคณิตศาสตร์ โดยครูสาวิตรี หนูมาศและครูสุคนธา บูโกก
ร่วมแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ “เนื้อหา คณิตศาสตร์ ป.3 อัพเดทล่าสุด ตามหลักสูตรกระทรวง”