ก้าวสู่บทบาทนักสำรวจ วิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษา 5 เปิดโลกแห่งการค้นพบ บูรณาการและประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ และกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ อย่างกว้างขวาง และท้าทาย เนื้อหาในระดับชั้นนี้ มุ่งเน้นการเรียนรู้การบวก การลบ การคูณ การหารในรูปแบบที่หลากหลาย รวมถึงการประยุกต์ใช้เศษส่วน ทศนิยม ร้อยละ การวัด การหาพื้นที่ การหาปริมาตร สถิติเบื้องต้นและเรขาคณิตเบื้องต้น อย่างมั่นใจ
กระบวนการเรียนรู้ยังคงเน้นการบูรณาการกิจกรรม การเล่น และการลงมือปฏิบัติ ควบคู่กับการใช้สื่อการเรียนรู้ และเทคโนโลยีที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ ค้นพบ ประยุกต์ใช้ และสร้างสรรค์ผลงาน โดยเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ กับสถานการณ์จริง ในชีวิตประจำวัน
หลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เทอมต้น
หน่วยที่ 1 เศษส่วนและ การบวก การลบ การคูณ การหารเศษส่วน
เรื่อง 1.1 เศษส่วนและ การบวก การลบ การคูณ การหารเศษส่วน
- การใช้ 1ส่วน 2 เป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบเศษส่วน
- การเปรียบเทียบเศษส่วน
- การเปรียบเทียบจำนวนคละ
- การเรียงลำดับเศษส่วนและจำนวนคละ
- การบวกเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน
- การลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน
- การบวกจำนวนคละ
- การลบจำนวนคละ
- เศษส่วนของจำนวนนับ
- การคูณจำนวนนับกับเศษส่วน
- การคูณเศษส่วนกับจำนวนนับ
- การคูณเศษส่วนกับเศษส่วน
- การคูณจำนวนนับกับจำนวนคละ
- การคูณจำนวนคละกับจำนวนนับ
- การคูณจำนวนคละกับจำนวนคละ และ การคูณจำนวนคละกับเศษส่วน และ การคูณเศษเกินกับเศษเกิน
- ส่วนกลับของเศษส่วน
- การหารจำนวนนับด้วยเศษส่วน
- การหารเศษส่วนด้วยจำนวนนับ
- การหารเศษส่วนด้วยเศษส่วนโดยเศษส่วนที่เป็นตัวตั้งมากกว่าเศษส่วนที่เป็นตัวหาร
- การหารเศษส่วนด้วยเศษส่วน
- การหารจำนวนคละ
- โจทย์ปัญหาการบวก การลบ เศษส่วนและจำนวนคละ
- โจทย์ปัญหาการบวก การลบ เศษส่วน
- โจทย์ปัญหาการคูณ การหารเศษส่วน
- การบวก ลบ ระคนของเศษส่วนและจำนวนคละ
- การคูณ หาร ระคนของเศษส่วนและจำนวนคละ
- การบวก ลบ คูณ หาร ระคนของเศษส่วน
- โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร ระคนของเศษส่วน
- โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน 2 ขั้นตอน
- โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน 2 ขั้นตอน
หน่วยที่ 2 ทศนิยม และการบวก การลบ การคูณ การหารทศนิยม
เรื่อง 2.1 ทศนิยม และการบวก การลบ การคูณ การหารทศนิยม
- ตัวประกอบของจำนวนนับ
- การเขียนเศษส่วนที่ตัวส่วนเป็นตัวประกอบของ 10 100 หรือ 1,000 ในรูปทศนิยม
- การเขียนเศษส่วนที่ตัวส่วนไม่เป็นตัวประกอบของ 10 100 หรือ 1,000 ในรูปทศนิยม
- การเขียนจำนวนคละในรูปทศนิยม
- การหาค่าประมาณของทศนิยม เป็นจำนวนเต็มหน่วย
- การหาค่าประมาณเป็นทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง
- การหาค่าประมาณเป็นทศนิยมสองตำแหน่ง
- การคูณทศนิยมกับจำนวนนับ
- การหาผลคูณของทศนิยมกับจำนวนนับ
- การคูณทศนิยมกับจำนวนนับ โดยการตั้งคูณ
- การหาผลคูณของทศนิยมกับจำนวนนับโดยการตั้งคูณผลคูณไม่เกินสามตำแหน่ง
- การคูณทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่งกับ 10 100 1,000
- การหาผลคูณของทศนิยม 1 ตำแหน่ง กับทศนิยม 1 ตำแหน่ง
- การหาผลคูณของทศนิยมหนึ่งตำแหน่งกับทศนิยมสองตำแหน่ง
- การคูณทศนิยมกับทศนิยมโดยการตั้งคูณ
- การหารทศนิยมด้วยจำนวนนับโดยใช้ความสัมพันธ์ของทศนิยมกับเศษส่วน
- การหารทศนิยมด้วยจำนวนนับโดยการตั้งหาร
- การหารทศนิยมด้วย 10 100 และ 1,000
- การหารจำนวนนับด้วยจำนวนนับ ที่ผลหารเป็นทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง
- การหารจำนวนนับด้วยจำนวนนับ ที่ผลหารเป็นทศนิยมไม่เกินสองตำแหน่ง
- การหารจำนวนนับด้วยจำนวนนับ ที่ผลหารเป็นทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่ง
- การบอกค่าของเงินเป็นทศนิยม
- การบอกความยาวเป็นทศนิยม
- การบอกน้ำหนักเป็นทศนิยม
- การบอกปริมาตรเป็นทศนิยม
- การหาตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์ การบวก การลบ การคูณ การหารทศนิยม
- การวิเคราะห์และหาคำตอบโจทย์ปัญหาการคูณ การหารทศนิยม
- การวิเคราะห์และแสดงวิธีหาคำตอบโจทย์ปัญหาการคูณ การหารทศนิยม
- การแก้โจทย์ปัญหาการคูณ หารหารทศนิยม
- การแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ การหารทศนิยม 2 ขั้นตอน
หน่วยที่ 3 สถิติและความน่าจะเป็น
เรื่อง 3.1 สถิติและความน่าจะเป็น
- การอ่านแผนภูมิแท่งที่มีแกนย่นระยะ
- การอ่านแผนภูมิแท่งเปรียบเทียบ
- การเขียนแผนภูมิแท่งที่มีแกนย่นระยะ
- การเขียนแผนภูมิแท่งเปรียบเทียบ
- การอ่านข้อมูลจากกราฟเส้น
- การเขียนกราฟเส้น
- การแสดงวิธีหาคำตอบจากแผนภูมิแท่ง
- การแสดงวิธีหาคำตอบจากแผนภูมิแท่งเปรียบเทียบ
- การแสดงวิธีหาคำตอบจาก กราฟเส้น
- การแสดงวิธีหาคำตอบจาก กราฟเส้น
หลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เทอมปลาย
หน่วยที่ 4 ชื่อหน่วย ร้อยละ
เรื่อง 1.1 ร้อยละ
- ทบทวนโจทย์ปัญหาการคูณและการหาร
- โจทย์ปัญหาการคูณของเศษส่วนกับจำนวนนับ
- การแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้บัญญัติไตรยางศ์
- การแก้โจทย์ปัญหาการคูณ การหารโดยใช้บัญญัติไตรยางศ์
- การแก้โจทย์ปัญหาการคูณ การหารโดยใช้บัญญัติไตรยางศ์
- การแก้โจทย์ปัญหาโดยบัญญัติไตรยางศ์
- การนำความรู้เกี่ยวกับบัญญัติไตรยางศ์ไปใช้
- การเขียนเศษส่วนที่ตัวส่วนเป็น 100 หรือ เขียนทศนิยม 2 ตำแหน่ง ในรูปร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์
- การเขียนเศษส่วนในรูปร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ เมื่อกำหนดเศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็นตัวประกอบของ 100 หรือ ทศนิยมไม่เกิน 2 ตำแหน่ง
- ความหมายของร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์จากสถานการณ์ที่กำหนด
- การหาร้อยละของจำนวนนับ
- การหาร้อยละของจำนวนนับ โดยใช้เครื่องคิดเลข
- การแก้โจทย์ปัญหาร้อยละโดยเขียนร้อยละในรูปเศษส่วนของจำนวนนับ
- การแก้โจทย์ปัญหาร้อยละโดยใช้บัญญัติไตรยางศ์
- การแก้โจทย์ปัญหาร้อยละ
- การแก้โจทย์ปัญหาร้อยละ 2 ขั้นตอน
- การลดราคาและการหาส่วนลด
- การลดราคาและการหาราคาขาย
- การลดราคา 2 ขั้นตอน
- ความหมายของทุน ราคาขาย กำไร ขาดทุนและเท่าทุน
- การแก้โจทย์ปัญหาร้อยละเกี่ยวกับกำไรและราคาขาย
- โจทย์ปัญหาร้อยละเกี่ยวกับขาดทุนและราคาขาย
- โจทย์ปัญหาร้อยละเกี่ยวกับกำไร ขาดทุน และราคาขาย
- การแก้โจทย์ปัญหาร้อยละเกี่ยวกับกำไร และราคาขาย 2 ขั้นตอน
- การแก้โจทย์ปัญหาร้อยละเกี่ยวกับขาดทุนและราคาขาย 2 ขั้นตอน
- การแก้โจทย์ปัญหาร้อยละเกี่ยวกับกำไร ขาดทุนและราคาขาย 2 ขั้นตอน
หน่วยที่ 5 ชื่อหน่วย เรขาคณิตสองมิติ
เรื่อง 2.1 เรขาคณิตสองมิติ
- เส้นตั้งฉากและการสร้างเส้นตั้งฉาก
- เส้นขนานและสัญลักษณ์แสดงการขนาน
- เส้นตัดขวางและมุมที่เกิดจากเส้นตัดขวางตัดเส้นตรงหรือส่วนของเส้นตรงคู่หนึ่งที่ขนานกัน
- เส้นตัดขวางและมุมที่เกิดจากเส้น ตัดขวางตัดเส้นตรงคู่หนึ่งที่ไม่ขนานกัน
- เส้นขนานและมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง
- สมบัติของเส้นขนานเกี่ยวกับมุมแย้ง
- การพิจารณาเส้นขนานโดยอาศัยมุมภายในบนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง และการพิจารณาเส้นขนานโดยอาศัยมุมแย้ง
- การสร้างเส้นตรงให้ผ่านจุดที่กำหนดให้และขนานกับเส้นตรงที่กำหนดให้โดยการสร้างให้ระยะห่างเท่ากัน
- การสร้างเส้นตรงให้ขนานกับเส้นตรงที่กำหนดให้โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวางให้รวมกันได้ 180 องศา
- การสร้างเส้นตรงให้ขนานกับเส้นตรงที่กำหนดให้โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับมุมแย้ง
- ชนิดของรูปสี่เหลี่ยม
- เส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยม
- ลักษณะและสมบัติของรูปสี่เหลี่ยมชนิดต่าง ๆ
- การสร้างรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีด้านทุกด้านยาวเท่ากัน
- การสร้างรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีด้านที่ขนานกันยาวเท่ากัน ด้านที่อยู่ติดกันยาวไม่เท่ากัน
- การสร้างรูปสี่เหลี่ยมคางหมูและการสร้างรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว
- การสร้างรูปสี่เหลี่ยมที่มีเส้นทแยงมุมตัดกันเป็นมุมฉาก(รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน และรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว)
- การสร้างรูปสี่เหลี่ยมที่มีเส้นทแยงมุมแบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน เส้นทแยงมุมตัดกันไม่เป็นมุมฉาก(รูปสี่เหลี่ยมด้านขนานและรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า)
- การสร้างรูปสี่เหลี่ยมตามกำหนด(เมื่อกำหนดความยาวของด้าน ขนานของมุม และความยาวของเส้นทแยงมุม)
- การสร้างรูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า
- ความยาวของฐาน และความสูงของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานและรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
- การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานและรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
- การแสดงวิธีหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานและรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
- การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมคางหมูโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
- การหาพื้นที่ของรูปอื่นๆ โดยการประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
- ความยาวรอบรูปของรูปหลายเหลี่ยม
- การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยม
- การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่ไม่มีมุมใดเป็นมุมฉาก
- การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่ไม่มีมุมใดเป็นมุมฉาก
- การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่และความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน หาคำตอบและแสดงวิธีทำ
- การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่และความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน หาคำตอบ แสดงวิธีทำ ตรวจสอบความสมเหตุสมผลของคำตอบ
หน่วยที่ 6 ชื่อหน่วย รูปเรขาคณิตสามมิติและปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
เรื่อง 3.1 รูปเรขาคณิตสามมิติและปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
- ลักษณะรูปเรขาคณิตสองมิติและรูปเรขาคณิตสามมิติ
- ลักษณะส่วนต่างๆของปริซึม
- การประดิษฐ์ปริซึม
- ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
- หน่วยของปริมาตรและการหาปริมาตรเป็นลูกบาศก์เซนติเมตรและลูกบาศก์เมตร
- การหาปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
- การหาความจุของปริมาตรทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
- ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยลูกบาศก์เซนติเมตรกับลูกบาศก์เมตร
- ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยมิลลิลิตร ลิตร ลูกบาศก์เซนติเมตร ลูกบาศก์เมตร
- การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
- การแสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
- การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
บทสรุป
เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษา 5 เปรียบเสมือนการจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ มุ่งเน้นการพัฒนา ทั้งทักษะพื้นฐาน การคิดวิเคราะห์เชิงระบบ และการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เตรียมความพร้อมให้เด็กๆ ก้าวสู่การเรียนรู้ที่ซับซ้อนมากขึ้น ในระดับชั้นมัธยมศึกษา ตลอดจนสร้างทัศนคติที่ดี ต่อวิชาคณิตศาสตร์ ในฐานะเครื่องมือสำคัญ สำหรับการเรียนรู้ และการใช้ชีวิต ในอนาคต
เนื้อหาคณิตศาสตร์ ประถมปลาย
เครดิทที่มาของข้อมูล
- DLTV วิชาคณิตศาสตร์ โดยครูอาภาภรณ์ สุขสำราญ และ ครูพงศธร รอดจินดา
ร่วมแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ “เนื้อหา คณิตศาสตร์ ป.5 อัพเดทล่าสุด ตามหลักสูตรกระทรวง”