ตรรกศาสตร์ เป็นวิชาแขนงหนึ่งที่มีการศึกษาและพัฒนามาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ คำว่า “ตรรกศาสตร์” มาจากภาษาสันสกฤตว่า “ตรฺก” (หมายถึง การตรึกตรอง หรือความคิด) อะริสโตเติล (Aristotle) เป็นผู้หนึ่งที่ได้เขียนตำราทางตรรกศาสตร์ที่เป็นระบบขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งมีผลต่อความคิดทางปรัชญา ทางวิทยาศาสตร์ และทางศาสนาเป็นอย่างมาก สิ่งที่เราจะได้เรียนกันในระดับชั้น ม.4 นั้นถือว่าเป็นพื้นฐานของวิชาตรรกศาสตร์ เราจึงเรียกมันว่าบทเรียน ตรรกศาสตร์เบื้องต้นนั่นเอง
ตรรกศาสตร์ หมายถึง
ตรรกศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์และเหตุผล การได้มาของผลภายใต้กฎเกณฑ์ที่กำหนดถือเป็นสาระสำคัญ ข้อความหรือการให้เหตุผลในชีวิตประจำวันสามารถสร้างเป็นรูปแบบที่ชัดเจนจน ใช้ประโยชน์ในการสรุปความ ความสมเหตุสมผลเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ตรรกศาสตร์เป็นแม่บทของคณิตศาสตร์แขนงต่าง ๆ และการประยุกต์
ประพจน์ (Propositions/Statement)
สิ่งแรกที่ต้องรู้จักในเรื่องตรรกศาสตร์คือ ประพจน์ ข้อความหรือประโยคที่มีค่าความจริง(T)หรือเท็จ(F) อย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนข้อความรูป คำสั่ง คำขอร้อง คำอุทาน คำปฏิเสธ ซึ่งไม่อยู่ในรูปของประโยคบอกเล่า จะเป็นข้อความที่ไม่เป็นประพจน์ สำหรับข้อความบอกเล่าแต่มีตัวแปรอยู่ด้วย ไม่สามารถบอกว่าเป็นจริงหรือเท็จจะไม่เป็นประพจน์ เรียกว่าประโยคเปิด
ประโยคที่มีค่าความจริงไม่แน่นอน หรือไม่อาจระบุได้ว่ามีค่าความจริงเป็นจริงหรือเป็นเท็จได้ ไม่เป็นประพจน์
การเชื่อมประพจน์
โดยปกติเมื่อกล่าวถึงข้อความหรือประโยคนั้นมักจะมีกริยามากกว่าหนึ่งตัว แสดงว่าได้นำประโยคมาเชื่อมกัน มากกว่าหนึ่งประโยค ดังนั้นถ้านำประพจน์มาเชื่อมกัน ก็จะได้ประพจน์ใหม่ ซึ่งสามารถบอกได้ว่าเป็นจริงหรือเป็นเท็จ ตัวเชื่อมประพจน์มีอยู่ 5 ตัว และตัวเชื่อมที่ใช้กันมากในตรรกศาสตร์คือ และ หรือ ถ้า…แล้ว ก็ต่อเมื่อ ไม่
- ตัวเชื่อมประพจน์ “และ”
การเชื่อม p และ q เข้าด้วยกันด้วยตัวเชื่อมประพจน์ “และ” สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ p ∧ q ซึ่งจะมีค่าความจริงเป็นจริง (T) เมื่อ p และ q มีค่าความจริงเป็นจริง (T) ทั้งคู่ นอกนั้นมีค่าความจริงเป็นเท็จ (F) - ตัวเชื่อมประพจน์ “หรือ”
การเชื่อม p และ q เข้าด้วยกันด้วยตัวเชื่อมประพจน์ “หรือ” สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ p ∨q ซึ่งจะมีค่าความจริงเป็นเท็จ (F) เมื่อ p และ q มีค่าความจริงเป็นเท็จ (F) ทั้งคู่ นอกนั้นมีค่าความจริงเป็นจริง (T) - ตัวเชื่อมประพจน์ “ถ้า…แล้ว”
การเชื่อม p และ q เข้าด้วยกันด้วยตัวเชื่อมประพจน์ “ถ้า…แล้ว” สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ p → q ซึ่งจะมีค่าความจริงเป็นเท็จ (F) เมื่อ p เป็นจริง (T) และ q เป็นเท็จ (F) นอกนั้นมีค่าความจริงเป็นจริง (T) - ตัวเชื่อมประพจน์ “ก็ต่อเมื่อ”
การเชื่อม p และ q เข้าด้วยกันด้วยตัวเชื่อมประพจน์ “ก็ต่อเมื่อ” สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ p ⇔ q ซึ่งจะมีค่าความจริงเป็นจริง (T) เมื่อ p และ q มีค่าความจริงตรงกัน และจะมีค่าความจริงเป็นเท็จ (F) เมื่อ p และ q มีค่าความจริงตรงข้ามกัน - นิเสธของประพจน์ “ไม่”
นิเสธของประพจน์ใดๆ คือ ประพจน์ที่มีค่าความจริงตรงกันข้ามกับประพจน์นั้นๆ และสามารถเขียนแทนนิเสธของ p ได้ด้วย ~p
ตารางค่าความจริง
ตารางแสดงค่าความจริงของประพจน์ที่มีตัวเชื่อม พบเห็นบ่อยมากในเรื่องตรรกศาสตร์
ประพจน์ที่สมมูลกัน
ประพจน์ 2 ประพจน์จะสมมูลกัน ก็ต่อเมื่อ ประพจน์ทั้งสองมีค่าความจริงเหมือนกัน ทุกกรณีของค่าความจริงของประพจน์ย่อย
การทดสอบว่าประพจน์ 2 ประพจน์ สมมูลกัน ทำได้ 2 วิธีคือ
- สร้างตารางแจกแจงค่าความจริง ค่าความจริงต้องตรงกันทุกกรณี
- โดยการใช้หลักความจริงและประพจน์ที่สมมูลกันแบบง่ยๆที่ควรจำ เพื่อแปลงรูปประพจน์ไปเป็นแบบเดียวกัน
ตัวอย่างประพจน์ที่สมมูลกันที่ควรทราบ มีดังนี้
p ∧ q สมมูลกับ q ∧ p
p ∨ q สมมูลกับ q ∨ p
(p ∧ q) ∧ r สมมูลกับ p ∧ (q ∧ r)
(p ∨ q) ∨ r สมมูลกับ p ∨ (q ∨ r)
p ∧ (q ∨ r) สมมูลกับ (p ∧ q) ∨ ( p ∧ r)
p ∨ (q ∧ r) สมมูลกับ (p ∨ q) ∧ ( p ∨ r)
p → q สมมูลกับ ~p ∨ q
p → q สมมูลกับ ~q → ~p
p ⇔ q สมมูลกับ (p → q) ∧ (q → p)
ประพจน์ที่เป็นนิเสธกัน
ประพจน์ 2 ประพจน์เป็นนิเสธกัน ก็ต่อเมื่อ ประพจน์ทั้งสองมีค่าความจริงตรงข้ามกันทุกกรณีของค่าความจริงของประพจน์ย่อย
ตัวอย่างประพจน์ที่เป็นนิเสธกันที่ควรทราบ มีดังนี้
~(p ∧ q) สมมูลกับ ~p ∨ ~q
~(p ∨ q) สมมูลกับ ~p ∧ ~q
~(p → q) สมมูลกับ p ∧ ~q
~(p ⇔ q) สมมูลกับ (p ⇔ ~q) ∨(q ⇔ ~p)
~(p ⇔ q) สมมูลกับ (p ∧ ~q) ∨ ( q ∧~p)
สัจนิรันดร์
สัจจะ แปลว่าจริง ส่วนนิรันดร์ แปลว่าตลอดกาล ประพจน์ที่เป็นสัจนิรันดร์ คือ ประพจน์ที่มีค่าความจริงเป็นจริง ทุกกรณีของประพจน์ย่อย
ประโยคเปิด (Open Sentence)
คือข้อความที่อยู่ในรูปประโยคบอกเล่าหรือปฏิเสธ ที่มีตัวแปรและสื่อแทนค่าของตัวแปรนั้น จะได้ค่าความจริงแน่นอน หรือเป็นประพจน์ นิยมใช้สัญลักษณ์ P(x), P(x , y), Q(x , y) แทนประโยคเปิดที่มีตัวแปรระบุในวงเล็บ
ตัวบ่งปริมาณ (∀,∃)
ตัวบ่งปริมาณ เป็นตัวระบุจำนวนสมาชิกในเอกภพสัมพัทธ์ที่ทำให้ประโยคเปิดกลายเป็นประพจน์ ตัวบ่งปริมาณมี 2 ชนิด คือ
- ตัวบ่งปริมาณที่กล่าวถึง “สมาชิกทุกตัวในเอกภพสัมพัทธ์” ซึ่งเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ “∀” อ่านว่า”สำหรับสมาชิก x ทุกตัว”
- ตัวบ่งปริมาณที่กล่าวถึง “สมาชิกบางตัวในเอกภพสัมพัทธ์” ซึ่งเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ “∃” อ่านว่า “สำหรับสมาชิก x บางตัว”
ค่าความจริงของประพจน์ที่มีตัวบ่งปริมาณ
- ∀x[P(x)] มีค่าความจริงเป็นจริง เมื่อ x ทุกตัวในเอกภพสัมพัทธ์ทำให้ P(x) เป็นจริง
- ∀x[P(x)] มีค่าความจริงเป็นเท็จ เมื่อมี x อย่างน้อย 1 ตัวที่ทำให้ P(x) เป็นเท็จ
- ∃x[P(x)] มีค่าความจริงเป็นจริง เมื่อมี x อย่าน้อย 1 ตัวที่ทำให้ P(x) เป็นจริง
- ∃x[P(x)] มีค่าความจริงเป็นเท็จ เมื่อไม่มี x ใดๆ ในเอกภพสัมพัทธ์ที่ทำให้ P(x) เป็นจริง
นิเสธของประพจน์ที่มีตัวบ่งปริมาณ
~∀x[P(x)] สมมูลกับ ∃x[~P(x)]
~∃x[P(x)] สมมูลกับ∀x[~P(x)]
~∀x[~P(x)] สมมูลกับ∃x[P(x)]
~∃x[~P(x)] สมมูลกับ∀x[P(x)]
การอ้างเหตุผล
การอ้างเหตุผล คือ การอ้างว่า “สำหรับเหตุการณ์ P1, P2,…, Pn ชุดหนึ่ง สามารถสรุปผลที่ตามมา C ได้” การอ้างเหตุผลนี้ ได้รับเลือกเป็นตัวแทนของ ข้อสอบในเรื่องตรรกศาสตร์ ให้เป็นข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย อย่าง O-Net และ PAT1 บ่อยๆ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
การอ้างเหตุผลประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
- เหตุ หรือสิ่งที่กำหนดให้
- ผล หรือสิ่งที่ตามมา
สำหรับการพิจารณาว่า การอ้างเหตุผลนั้นสมเหตุสมผลหรือไม่นั้นพิจารณาได้จากประพจน์ ( P1 ∧ P2 ∧ … Pn) → C ถ้าประพจน์ดังกล่าวมีค่าความจริงเป็นจริงเสมอ (เป็นสัจนิรันดร์) เราสามารถสรุปได้ว่าการอ้างเหตุผลดังกล่าวเป็นการอ้างที่สมเหตุสมผล
ตัวอย่างเช่น
เหตุ 1. p → q
2. p
ผล q
ข้อสอบตรรกศาสตร์เบื้องต้น
เป็นอย่างไรกันบ้าง จบกันไปแล้วนะครับสำหรับเนื้อหาเรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้น ม.4 น้องๆหลายคนอาจจะคิดว่ายาก แต่พอมาตอนนี้ ตรรกศาสตร์ไม่ยากเลยใช่ไหม ซ้อมทำโจทย์ตรรกศาสตร์กันเยอะๆนะจะได้เก่งๆ วันนี้ได้ความรู้เรื่องตรรกศาสตร์กันไปเต็มๆแล้ว คราวหน้าเตรียมพบกับเนื้อหาบทใหม่กันได้ พบกันใหม่ครับ
miLd says
เข้าใจแล้วจ่ะ
KaZuMa says
ขอบคุณพี่ๆที่เสียสละเวลาเขียนบทความดีๆเพื่อช่วยเหลือน้องๆครับ
คนึง ตอบประโคน says
กำหนดให้ P.q.r.s.และ t เป็นประพจน์มีค่าความจริงเป็น จริง เท็จ จริง เท็จและเท็จตามลำดับ
เผื่อวันพุ่งนี้ says
คุงนร๊
ฟ้าใส says
q→(p^~R)
คัยทำเป้นช่วยหน่อยนะข๊ะ
ออง'ออย says
เวลาครูสอนไม่เข้าใจ พอมาดูในเว็บนี้ก็ทำได้เลยค่ะ
ขอบคุณค่ะ 🙂
นี says
ทามมัยง่ายอ่ะ
ตอนอ. สอนไม่เข้าจัย
คนปอน ๆ says
เยืยมเลยครับตรงเท็จเป็นจริง จริงเป็นเท็จ
บุญช่วย says
ไม่ทราบว่าจะนำ Karnaugh maps หรือใช้วิธี Quine-McCluskey ในการแก้ปัญหาตรรกศาสตร์ได้หรือไม่ครับ
Sone P says
น่าสนใจมาก
MJfilm OLome says
ขอบคุณมากๆครับ ช่วยได้เยอะมาก
กานต์ says
ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่
ข้าวฟ่าง says
เข้าใจแล้วค่ะขอบคุณมากๆค่ะ
ฟ้าใส' says
บอกให้ โคตรไม่ได้เรื่องเลยครับ 5555
สอนไม่เข้าใจ
lopter loi says
สอนขั้นตอนไม่ละเอียด ทำให้เข้าใจยากนะครับ
Eak L says
ชอบชอบ
jakkarin thanamat says
ขอบคุณมากครับ
TBKC says
ดีมากคราฟ
กรกช says
ขอบคุนค่ะ
MJfilm OLome says
ชอบๆ
ทาคุมะ says
ลงชื่ออ่านครับ
Jimmy Fus Ro Dah says
รออยู่นะค้าบบ ^^
Pleng Papichaya says
เขียนได้ดีมากครับ
Liew Murasaki says
ขอบคุนค่ะ
โตเซน says
แล้วเราจะรู้ความจริงจากธรรมชาติได้อย่างไร? เมื่อ
(p^q)v(p^q)~(pvq)^(pvq)–>{(p^q)v(pvq)~(pvq)^(p^q)}p^q~pvq
หาคำตอบให้ที…555 มาแบบมั่วๆเฉยๆอย่าใส่ใจนะ…ไปละ
bank peper says
ดีมากคับ
jet says
เข้าใจเเล้วคับ
nuke says
ทบทวนที่นี้เเล้วเข้าใจเลยค่ะ
jinjane says
เย้ๆๆๆๆ กว่าจะเข้าใจ
เทพ จาก สุรินทร์ says
เว็บนี้โครตใช่เลย55555+ชอบคับชอบคับ
ว่างๆเที่ยวดูช้างบ้านผมได้นะคับ