ลิลิตโองการแช่งน้ำ ถือเป็นหนึ่งในวรรณคดีสำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้น แต่งโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าอาจแต่งในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ผู้แต่งคงจะเป็นผู้รู้พิธีพราหมณ์และรู้วิธีการประพันธ์ของไทยเป็นอย่างดี
ผู้แต่ง
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าอาจแต่งในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ผู้แต่งคงจะเป็นผู้รู้พิธีพราหมณ์และรู้วิธีการประพันธ์ของไทยเป็นอย่างดี
ประวัติ
ต้นฉบับที่เหลืออยู่เขียนด้วยอักษรขอม นับเป็นวรรณคดีเรื่องแรกของไทยที่แต่งเป็นร้อยกรองอย่างสมบูรณ์แบบ เรียกว่าโองการแช่งน้ำ บ้าง ประกาศแช่งน้ำโคลงห้าบ้าง ต้นฉบับที่ถอดเป็นอักษรไทยจัดวรรคตอนการประพันธ์ค่อนข้างสับสน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสอบทานและทรงพระราชวินิจฉัยเรียบเรียงวรรคตอนขึ้นใหม่
ทำนองแต่ง
ลิลิตโองการแช่งน้ำ แต่งด้วยลิลิต คือ มีร่ายกับโคลงสลับกัน ร่ายเป็นร่ายดั้นโบราณ โคลงเป็นโคลงแบบโคลงห้าหรือมณฑกคติ ภาษาที่ใช้เป็นคำไทยโบราณ คำเขมร และคำบาลีสันสกฤตปะปนอยู่ด้วย
ความมุ่งหมาย ใช้อ่านในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาหรือพระราชพิธีศรีสัจจปานกาลเพื่อแสดงความจงรักภักดี
เรื่องย่อ
เริ่มต้นด้วยการสรรเสริญพระนารายณ์พระอิศวร และพระพรหม ต่อจากนั้นกล่าวถึงไฟไหม้โลก แล้วพระพรหมสร้างโลกใหม่ เกิดมนุษย์ พระอาทิตย์ พระจันทร์ การกำหนดวัน เดือน ปี และการเริ่มมีพระราชาธิบดีในหมู่คน กล่าวอ้อนวอนในสิ่งศักดิ์สิทธิ์เรืองอำนาจ มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทพยดา อสูร ภูตผีปีศาจ มาลงโทษต่อผู้คิดคดกบฏต่อพระเจ้าแผ่นดิน ส่วนผู้ที่ซื่อสัตย์จงรักภักดี ขอให้มีความสุข มีลาภยศ ตอนจบเป็นร่ายเชิดชูพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน
คุณค่าของวรรณคดี
๑) วัฒนธรรมประเพณี พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
เป็นพิธีกรรมสำคัญที่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑
(พระเจ้าอู่ทอง) โดยได้รับอิทธิพลมาจากขอม คือ
เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ที่สืบทอดกันมาจนกระทั่งยกเลิกไปหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
พ.ศ. ๒๔๗๕
๒) ด้านความเชื่อ เป็นการแสดงความเชื่อตามคติของพราหมณ์ที่เชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างโลก ให้กำเนิดมนุษย์และสรรพสิ่งวรรณคดีสำคัญ
วรรณคดีเรื่องนี้กำเนิดจากพระราชพิธีในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แสดงถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมเขมรและพราหมณ์อย่างชัดเจน สมเด็จพระเจ้าอู่ทองทรงรับการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และพระราชพิธีศรีสัจจปานกาลจากเขมรมาใช้ เพื่อให้เหมาะสมกับภาวการณ์ของบ้านเมืองที่ต้องการสร้างอำนาจปกครองของพระเจ้าแผ่นดิน และความมั่งคั่งมั่นคงของบ้านเมืองในระยะที่เพิ่งก่อตั้งอาณาจักร
ที่มา:
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม.4 เล่ม 2 กระทรวงศึกษาธิการ
โอ ประวีร์ says
ขอบคุณครับ ดีมากเลย