ลิลิตยวนพ่าย ถือเป็นหนึ่งในวรรณคดีสำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้น สันนิษฐานว่าแต่งในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ราว พ.ศ. ๒๐๑๗ แต่ก็มีความเห็นอีกฝ่ายหนึ่งที่สันนิษฐานว่าแต่งในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ พ.ศ. ๒๐๓๒–๒๐๗๒
ผู้แต่ง
ไม่ปรากฏผู้แต่ง
ประวัติ
สันนิษฐานว่าลิลิตยวนพ่าย ถูกแต่งขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ราว พ.ศ. ๒๐๑๗ แต่ก็มีความเห็นอีกฝ่ายหนึ่งที่สันนิษฐานว่าแต่งในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ พ.ศ. ๒๐๓๒–๒๐๗๒ คำว่า “ยวน” ในลิลิตเรื่องนี้หมายถึง โยนกหรือชาวล้านนา คำว่า “ยวนพ่าย” จึงหมายถึง “ชาวล้านนาแพ้” เนื้อเรื่องของลิลิตยวนพ่ายจึงกล่าวถึงชาวล้านนาในสมัยพระเจ้าติโลกราช ซึ่งพ่ายแพ้แก่ กรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ทำนองแต่ง
แต่งเป็นลิลิตดั้น ประกอบด้วยร่ายดั้น ๒ บทกับโคลงดั้นบาทกุญชร และโคลงดั้นวิวิธมาลี ๒๙๖ บท รวมทั้งหมด ๒๙๘ บท (ฉบับองค์การค้าของคุรุสภา ๒๕๒๔)
ความมุ่งหมาย
เพื่อยอพระเกียรติของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และสดุดีชัยชนะที่มีต่อเชียงใหม่ในรัชกาลนั้น
เรื่องย่อ
เนื้อเรื่องเป็นการบรรยายภาพการทำสงครามระหว่างไทยกับล้านนา โดยฝ่ายไทยมีสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นจอมทัพ ฝ่ายล้านนามีพระเจ้าติโลกราชเป็นจอมทัพ จบลงด้วยชัยชนะของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
คุณค่าของวรรณคดี
ลิลิตยวนพ่ายมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การรบทัพจับศึก ค้านิยมทางสังคม และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ลิลิตยวนพ่ายที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นวรรณกรรมเก่าที่สมบูรณ์ไม่ชำรุดหรือถูกแต่งเติม ยังมีคุณค่าด้านภาษาศาสตร์ทำให้ได้เห็นถึงวิธีการใช้ภาษา คำสำนวน โวหาร ของกวีสมัยโบราณ และเป็นแบบอย่างของวรรณคดีประเภทสดุดี
ที่มา:
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม.4 เล่ม 2 กระทรวงศึกษาธิการ
Ratana RN says
น่าสน