ตำนานเมืองลับแล เมืองลี้ลับในตำนาน เป็นหนึ่งในตำนานพื้นบ้านของไทยที่ควรรู้จัก เรื่องราวเกิดขึ้นในสมัยประมาณปี พ.ศ.2444 ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ในปัจจุบันในภาคเหนือ
จังหวัด: อุตรดิตถ์ ภาคเหนือ
เนื้อเรื่อง
ตั้งแต่เด็กจนโตมาในจังหวัดอุตรดิตถ์ จะได้ยินคำเล่าขานเกี่ยวกับเมืองลับแลมาตลอด ถึงแม้ว่าตัวผู้เขียนเองจะไม่ใช่คนในพื้นที่เมืองลับแลโดยตรง แต่หากจะให้เล่าถึงเรื่องราวแล้วนั้นทุกคนในจังหวัดย่อมรู้ดี เพราะเมืองลับแลเป็นทั้งเมืองที่มีตำนานและปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์
เมืองลับแลนี้ ได้ชื่อลับแลเพราะเป็นอำเภอเล็กๆ ในจังหวัดอุตรดิตถ์ การที่จะเดินทางไปมาไม่สะดวก มีเส้นทางที่คดเคี้ยว ทำให้คนที่ไม่ชำนาญทางพลัดหลงได้ง่าย จนได้ชื่อว่าเมืองลับแล ซึ่งแปลว่า มองไม่เห็น แต่ในอีกการเล่าขานหนึ่งก็คือ ในสมัยก่อนนั้น มีภูมิประเทศเป็นป่าเขาสลับซับซ้อน มีบรรยากาศเยือกเย็นแม้ยามพลบค่ำตะวันจะยังไม่ตกดินก็จะมืดแล้ว เพราะมีดอยม่อนฤๅษีเป็นฉากกั้นแสงอาทิตย์ ป่านี้จึงได้ชื่อว่า “ป่าลับแลง” แลง ที่แปลว่า เวลาเย็น ต่อมาเรียกเพี้ยนไปเป็น “ลับแล” ซึ่งก็กลายมาเป็นชื่ออำเภอลับแลในสมัยปัจจุบัน
ในเมืองลับแลนี้เอง ก็จะมีคำประจำที่ได้ยินติดหูกันว่า เมืองลับแลเขตห้ามพูดโกหก คำกล่าวนี้มีที่มาจาก ตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่า มีครั้งหนึ่งหนุ่มเมืองทุ่งยั้ง เดินทางหลงไปในป่าเมืองลับแล แล้วไปพบสาวงามมาแอบซ่อนของไว้ ชายหนุ่มจึงแอบขโมยของนั้นมาและใช้เล่ห์กล จนสาวหลงเชื่อพาเข้าไปอยู่กินเป็นสามีในเมืองลับแล ชายหนุ่มได้เห็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์และมีแต่สาวสวย ด้วยเหตุนี้เมืองลับแลจึงเป็นเมืองลี้ลับคนภายนอกไม่สามารถเข้าไปได้ และชาวเมืองลับแลจะยึดมั่นในศีลธรรมอันดีงาม เคร่งครัดในการปฏิบัติธรรมอยู่เสมอ ไม่มีการพูดโกหกหรือหลอกลวงกัน
เดิมชาวเมืองแพร่ เมืองน่าน หนีข้าศึกและความเดือดร้อนมาซุ่มซ่อนตั้งชุมชนอยู่บริเวณนี้ เนื่องจากเป็นที่ป่ารก หลบซ่อนตัวง่ายและ ภูมิประเทศเป็นเมืองอยู่ในหุบเขามีที่เนินสลับกับที่ต่ำ คนต่างเมืองถ้าไม่คุ้นเคยกับภูมิประเทศจะหลงทางได้ง่าย อำเภอลับแลนอกจากจะมีโบราณสถานที่น่าสนใจมากมายแล้ว ยังเป็นแหล่งผลิตสินค้าหัตถกรรมพื้นเมืองล้านนา เช่น ผ้าตีนจก ไม้กวาด เป็นแหล่งปลูกลางสาด และทุเรียนหลง-หลินลับแล ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงของจังหวัด หลักฐานทางประวัติศาสตร์ แต่เดิมเคยเป็นเมืองใหญ่ที่เป็นชุมชนของพวกละว้าและขอม มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน เพราะได้มีการขุดพบกลองมโหระทึกและพร้าสำริด ได้ในบริเวณดังกล่าว เมื่ออาณาจักรขอมล่มสลายลง คนไทยก็ได้เข้ามาครอบครอง
เมืองลับแลนั้นเป็นอำเภอเล็กๆ การเดินทางไปมาไม่สะดวก เส้นทางคดเคี้ยว ทำให้คนที่ไม่ชำนาญทางพลัดหลงได้ง่าย จนได้ชื่อว่าเมืองลับแล ซึ่งแปลว่า มองไม่เห็น มีเรื่องเล่ากันว่าคนมีบุญเท่านั้นจึงจะได้เข้าไปถึงเมืองลับแล ตำนานนี้เล่ากันสืบมาว่า….. ครั้งหนึ่งมีชายคนหนึ่ง (น่าจะเป็นคนเมืองทุ่งยั้ง) เข้าไปในป่า ได้เห็นหญิงสาวสวยหลายคนเดินออกมา ครั้นมาถึงชายป่า นางเหล่านั้นก็เอาใบไม้ที่ถือมาไปซ่อนไว้ในที่ต่างๆ แล้วก็เข้าไปในเมือง ด้วยความสงสัยชายหนุ่มจึงแอบหยิบใบไม้มาเก็บไว้ใบหนึ่ง ตกบ่ายหญิงสาวเหล่านั้นกลับมา ต่างก็หาใบไม้ที่ตนซ่อนไว้ ครั้นได้แล้วก็ถือใบไม้นั้นเดินหายลับไป
มีหญิงสาวคนหนึ่งหาใบไม้ไม่พบ เพราะชายหนุ่มแอบหยิบมา นางวิตกเดือดร้อนมาก ชายหนุ่มจึงปรากฏตัวให้เห็นและคืนใบไม้ให้ โดยมีข้อแลกเปลี่ยนคือ ขอติดตามนางไปด้วยเพราะปรารถนาจะได้เห็นเมืองลับแล หญิงสาวก็ยินยอม นางจึงพาชายหนุ่มเข้าไปยังเมืองซึ่งชายหนุ่มสังเกตเห็นว่าทั้งเมืองมีแต่ผู้หญิง นางอธิบายว่าคนในหมู่บ้านล้วนมี ศีลธรรม ถือวาจาสัตย์ ใครประพฤติผิดก็ต้องออกจากหมู่บ้านไป ผู้ชายส่วนมากมักไม่รักษาวาจาสัตย์จึงต้องออกจากหมู่บ้านกันไปหมด แล้วนางก็พาชายหนุ่มไปพบมารดาของนาง ชายหนุ่มเกิดความรักใคร่ในตัวนางจึงขออาศัยอยู่ด้วย มารดาของหญิงสาวก็ยินยอม แต่ให้ชายหนุ่มสัญญาว่าจะต้องอยู่ในศีลธรรม ไม่พูดเท็จ ชายหนุ่มได้แต่งงานกับหญิงสาวชาวลับแลจนมีบุตรชายด้วยกัน 1 คน
ที่มา
korlucy says
ขอบคุณข้อมูลแน่นๆ ครับ