คุณทราบไหมว่าเวลาที่คุณจะต้องพูดคุยกับพระภิกษุสงฆ์บางรูป คุณจะต้องใช้คำราชาศัพท์ และไม่สามารถใช้คำพูดภาษาไทยธรรมดาได้ เนื่องจากพระสงฆ์เป็นผู้เจริญแล้ว เราจะต้องพูดจามีสัมมาคารวะ ไพเราะสุภาพ สำรวมนั่นเอง
ในวันนี้เว็บไซต์ติวฟรี ได้รวบรวมคำราชาศัพท์หมวดพระภิกษุสงฆ์ที่ใช้บ่อยมาไว้ด้วยกันถึง 30 คำ พร้อมตัวสะกด และความหมาย การนำไปใช้
จะต้องใช้คำราชาศัพท์กับพระสงฆ์รูปใดบ้าง?
- สมเด็จพระสังฆราช
- สมเด็จพระราชาคณะ หรือ ชั้นสุพรรณปัฎ คือ พระภิกษุที่มีราชทินนามนำหน้าด้วยคำว่า “สมเด็จพระ”
- พระราชาคณะชั้นรอง
- พระราชาคณะชั้นธรรม พระราชาคณะชั้นนี้มักมีคำว่า “ธรรม” นำหน้า
- พระราชาคณะชั้นเทพ พระราชาคณะชั้นนี้มักมีคำว่า “เทพ” นำหน้า
- พระราชาคณะชั้นราช พระราชาคณะชั้นนี้มักมีคำว่า “ราช” นำหน้า
- พระราชาคณะชั้นสามัญ
- พระครูสัญญาบัติ , พระครูชั้นประทวน , พระครูฐานานุกรม
- พระเปรียญตั้งแต่ 3-9
จะสังเกตุเห็นว่า คำราชาศัพท์เหล่านี้จะต้องใช้กับพระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์ (หรือยศในทางธรรม) เราไม่จำเป็นจะต้องใช้คำราชาศัพท์กับพระสงฆ์ทุกรูป รวมไปถึงแม่ชีและเณร
คำราชาศัพท์ หมวดพระสงฆ์
คำราชาศัพท์ | ความหมาย |
สรงน้ำ | อาบน้ำ |
จังหัน | อาหาร |
จำวัด | นอน |
ฉัน | รับประทาน |
นิมนต์ | เชิญ |
อาพาธ | ป่วย |
อาสนะ | ที่นั่ง |
ลิขิต | จดหมาย |
ปัจจัย | เงิน |
ปลงผม | โกนผม |
กุฏิ | เรือนที่พักในวัด |
ห้องสรงน้ำ | ห้องอาบน้ำ |
ประเคน | ถวาย |
เพล | เวลาฉันอาหารกลางวัน |
ถาน | เวจกุฎี ห้องสุขา |
ภัตตาหาร | อาหาร |
มรณภาพ | ตาย |
ใบปวารณา | คำแจ้งถวายจตุปัจจัย |
สลากภัต | อาหารถวายพระด้วยสลาก |
อังคาด | เลี้ยงพระ |
เสนาสนะ | สถานที่พระภิกษุใช้อาศัย |
ไตรจีวร | เครื่องนุ่งห่ม |
คิลานเภสัช | ยารักษาโรค |
อุบาสก,อุบาสิกา | คนรู้จัก |
รูป | ลักษณนามสำหรับพระภิกษุ |
องค์ | ลักษณนามสำหรัพระพุทธรูป |
พระโอวาท | คำสอน(พระสังฆราช) |
พระบัญชา | คำสั่ง(พระสังฆราช) |
พระแท่น | ธรรมาสน์(พระสังฆราช) |
พระสมณสาสน์ | จดหมาย(พระสังฆราช) |
ถ้าหากว่าพระสงฆ์เป็นพระราชวงศ์ จะต้องใช้คำราชาศัพท์แบบไหน
เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ซ้ำซ้อนกัน เช่นพระสงฆ์เป็นพระราชวงศ์ กำหนดให้ใช้คำราชาศัพท์ที่อยู่ในขั้นที่สูงกว่า ซึ่งในกรณีนี้ก็คือคำราชาศัพท์สำหรับพระราชวงศ์
เราไม่ใช้คำราชาศัพท์กับพระสงฆ์ได้ไหม?
คำราชาศัพท์สำหรับพระสงฆ์มีขึ้นมาเพื่อเป็นตัวอย่างในการพูดจาสื่อสารกับพระสงฆ์อย่างมีสัมมาคารวะ ไม่ให้มีการพูดเล่นๆ พูดพล่อยๆ พูดจาไม่สุภาพ หรือหยาบคายกับพระสงฆ์
เราจะใช้คำราชาศัพท์กับพระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์ หรือยศเท่านั้น จะไม่ได้ใช้กับพระสงฆ์ทุกรูป รวมไปถึงแม่ชี หรือเณร ดังนั้นไม่ต้องกลัวว่าคุณจะพูดกับพระไม่รู้เรื่อง
นอกจากนี้ยังมีคำศัพท์สำหรับพระสงฆ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายอีกหลายคำ (ที่ไม่ได้เป็นคำราชาศัพท์) เช่นอาตมา โยม สีกา ฯลฯ ในส่วนนี้จะพูดถึงในโอกาสต่อไปครับ
ร่วมแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ “คำราชาศัพท์ พระภิกษุสงฆ์ พร้อมความหมาย”