สวัสดีครับ วันนี้นายติวฟรีมาของดีมาฝากน้องๆสมาชิกเว็ป Tewfree.com อีกเช่นเคย สรุปเนื้อหาและสูตรทุกสูตร ของตรีโกณมิติ ม.5 (ตรีโกณมิติประยุกต์) ที่เป็นบทเรียนสุดฮอทในช่วงหลังสอบเทอมต้นนี้ครับ ใครเรียนเรื่องตรีโกณฯประยุกต์แล้วไม่เข้าใจ เรามาทำความเข้าใจกัน ^^
เนื้อหาของตรีโกณมิติประยุกต์ ม.5
เมื่อเรียนเรื่องตรีโกณมิติในสามเหลี่ยมมุมฉากมาจากปีก่อนๆแล้ว ใน ม.5 ตรีโกณมิติเองก็ได้อัพเลเวลให้ยากขึ้นไปอีกขั้น โดยการจับยัดสามเหลี่ยมเข้าไปใส่ไว้ในวงกลมนั่นเอง โดยรวมมีแค่นี้เองครับ เดี๋ยวมาค่อยๆดูกันนะว่ามีรายละเอียดอะไรบ้าง
1. วงกลมหนึ่งหน่วย
2. การเปลี่ยนตรีโกณให้อยู่ในวงกลม
3. ตรีโกณของมุมผลบวก/ผลต่าง
4. ตรีโกณจากมุมผลต่าง กับผลคูณ
5. วิธีคำนวณมุม 2, 3, 0.5 เท่า
6. เอกลักษณ์ตรีโกณมิติ
7. Inverse ของตรีโกณมิติ
8. กฎของ Sine และ Cos
9. การหาระยะทางและความสูง
วงกลมหนึ่งหน่วย
คือวงกลมที่มีรัศมียาว 1 หน่วย มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ (0,0)
องศากับเรเดียน
หนึ่งรอบของวงกลมคือ 2Pi เรเดียน = 360o ดังนั้น
Pi เรเดียน = 180o
ซึ่งจะเอาตรงนี้เป็นหลักเลย เมื่อโจทย์ถามถึงมุมองศาอื่นๆ ก็หารตามสัดส่วน
Pi/2 เรเดียน = 180o/2 = 90o
Pi/3 เรเดียน = 180o/3 = 60o
Pi/4 เรเดียน = 180o/4 = 45o
Pi/6 เรเดียน = 180o/6 = 30o
จริงๆมีมุมอีกเยอะ แต่หารแล้วเลขมันจะไม่ลงตัวครับ เราเอาแต่ตัวเลขสวยๆมาเรียนก็แล้วกันนะ จะได้ไม่งง
(x,y) เป็นจุดบนกราฟของวงกลม 1 หน่วย จากรูปจะได้ (x,y) = (cos θ, sin θ)
ค่า Sin Cos Tan ที่ตำแหน่งต่างๆบนวงกลม
วิธีการหาค่า Sin Cos Tan ที่ตำแหน่งต่างๆของวงกลม
ต้องหาด้วยสองขั้นตอนคือ
1. หาค่า sin cos tan นั้นๆ (ไม่ยาก)
2. หาเครื่องหมาย ว่าค่าที่หาได้ เป็น + หรือ – ดูได้จากวงกลม
สรุปสูตรพื้นฐาน 8 สูตร
สรุปสูตรตรีโกณมิติของมุมผลบวกและผลต่าง
การเปลี่ยนฟังก์ชันตรีโกณมิติจากมุมผลคูณ เป็นผลบวกหรือผลต่าง
การเปลี่ยนฟังก์ชันตรีโกณมิติจากมุมผลบวกหรือผลต่าง เป็นผลคูณ
สูตรมุม 2, 3, 0.5 เท่า
Inverse ของฟังก์ชันตรีโกณมิติ
1. Inverse ของฟังก์ชันตรีโกณมิติ จะเป้นฟังก์ชันก็ต่อเมื่อ ฟังก์ชันนั้นเป็นฟังก์ชันแบบ 1-1
2. ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ไม่ใช่ฟังก์ชัน 1-1 ดังนั้น Inverse ของงฟังก์ชันตรีโกณมิติ จึงไม่เป็นฟังก์ชัน
3. ถ้าต้องการให้ Inverse ของฟังก์ชันตรีโกณมิติเป็นฟังก์ชัน ต้องกำหนดโดเมนของฟังก์ชันตรีโกณมิติให้ลดลง เพื่อจะได้เป็นฟังก์ชันแบบ 1-1 โดยที่เรนจ์ของฟังก์ชันยังคงเดิม
4. การกำหนดโดเมนของฟังก์ชันตรีโกณมิติ เพื่อทำให้เป็นฟังก์ชันแบบ 1-1 นั่น จะกำหนดช่วงใดก็ได้ แต่นิยมช่วงใกล้ๆศูนย์
Omega says
ขอบคุณครับ กำลังเรียนอยู่พอดีเรยยย
Siripong says
ตรีโกณมิติ ม.5 ยากมากเลยครับ ถ้าไม่ได้พี่ช่วยไว้ ผมต้องแย่แน่ๆ ของคุณอีกครั้งครับ http://www.tewfree.com
time3957 says
ขอบคุณมากๆฮะ มีประโยชน์จริงๆ รักติวฟรี ♥♥♥
mos says
ขอบคุณมากๆนะครับ
roset says
ขอบคุณมากนะคะ
ตามเพื่อนในห้องทันซะที
กีต้า says
สุดยอดมากเลยครับ
sasina says
ขอบคุณน่ะค่ะ มีประโยชน์มากเลย
regards says
อธิบายชัดเจนมากครับ
Enaj Jane says
Thank you teacher.
เติ้ล เหลิง says
งง ครับ
Arowu says
ขอบคุนค่ะ
paoza says
ง่ายๆ
Arleepp says
T T
Aemika says
เยี่ยมไปเลยค่ะ…ช่วยได้เยอะจิงๆ
fjekxkk says
เรียนตีโกณ ตอน ม.2 อ่า งงแปป..แต่ก็ของคุณน้าาา
The Chin says
ชอบมากครับ สูตรครบเลย