เซตถูกจำแนกออกเป็นสองอย่างด้วยกันคือ เซตจำกัด และเซตอนันต์ ซึ่งจะมีวิธีแยกแยะเซตทั้งสองนี้ออกจากกัน เซตจำกัดคือเซตที่เราสามารถบอกจำนวนสมาชิกได้ ตรงกันข้ามกับเซตอนันต์
1. เซตจำกัด (Finite Set)
เซตจำกัด (Finite Set) คือ เซตที่สามารถนับจำนวนสมาชิกได้ทั้งหมดและมีจำนวนที่แน่นอน เช่น A = {1, 2, 3, … ,20} จะเห็นได้ว่าเซต A สามารถบอกจำนวนสมาชิกได้ว่าเซตนี้มีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 20 ตัว ดังนั้น เซต A จึงเป็นเซตจำกัด
ลองดูอีกตัวอย่างกันนะครับ B = { 3 } จะเห็นได้ว่าเซต B สามารถที่จะบอกจำนวนสมาชิกได้ คือ 1 ตัว ดังนั้นเซต B จึงเป็นเซตจำกัด
**หมายเหตุ เซตว่าง (Empty Set) ถือเป็นเซตจำกัด เขียนสัญลักษณ์แทนเซตว่างได้ดังนี้ หรือ { }
2. เซตอนันต์ (Infinite Set)
เซตอนันต์ (Infinite Set) คือ เซตที่ไม่สามารถบอกจำนวนสมาชิกได้เพราะสมาชิกมีจำนวนมาก เช่น A = {1, 2, 3, … } จะเห็นได้ว่าเซต A ไม่สามารถบอกจำนวนสมาชิกตัวสุดท้ายที่อยู่ในเซตนี้ได้หมด ดังนั้นเซต A จึงเป็นเซตอนันต์
ลองมาดูกันอีกตัวอย่างนึง B = {3, 5, 7, …} จะเห็นได้ว่าเซต B ไม่สามารถบอกจำนวนสมาชิกที่เป็นจำนวนคี่ได้หมด ดังนั้นเซต B จึงเป็นเซตอนันต์
เนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.4 เรื่องเซต
เนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.4 เรื่องเซตประกอบไปด้วย
- ความหมายของเซต
- เซตจำกัด และเซตอนันต์
- เซตว่าง และเอกภพสัมพัทธ์
- ยูเนียน อินเตอร์เซกชันและคอมพลีเมนต์ของเซต
- สับเซตและเพาเวอร์เซต
- แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์
สำหรับคนที่สนใจอยากเรียนคณิตศาสตร์เรื่องเซต และเรื่องอื่นๆ แต่ไม่อยากอ่านเอง อยากดูในรูปแบบคลิปวีดีโอมากกว่า พี่มีของดีมาแนะนำครับ คลิปวีดีโอสอนเรื่องเซตครบทุกหัวข้อ และบทเรียนอื่นๆในระดับชั้นมัธยมอีกครบถ้วน สอนอย่างละเอียดตั้งแต่เริ่มต้น พร้อมด้วยโจทย์เรื่องเซตเรียงจากง่ายไปยาก แถมสามารถเรียนได้จากที่บ้านเลยไม่ต้องเดินทางไปไหน ลองอ่านข้อความด้านล่างนี้ดูนะครับ
ร่วมแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ “เซตจำกัด เซตอนันต์ (เซต) คณิตศาสตร์ ม.4”