สับเซตและเพาเวอร์เซต เป็นหัวข้อหนึ่งจากบทเรียนเรื่อง เซต ในวิชา คณิตศาสตร์ ม.4 ซึ่งจะมีนิยาม และสมบัติของมัน เราลองมาเรียนกันครับว่าสับเซตและเพาเวอร์เซตเป็นอย่างไร
สับเซต (Subset)
ถ้าสมาชิกทุกตัวของ A เป็นสมาชิกของ B แล้ว จะเรียกว่า A เป็นสับเซตของ B จะเขียนว่า
เซต A เป็นสับเซตของเซต B แทนด้วย A ⊂ B
ถ้าสมาชิกบางตัวของ A ไม่เป็นสมาชิกของ B จะเรียกว่า A ไม่เป็นสับเซตของ B
เซต A ไม่เป็นสับเซตของเซต B แทนด้วย A ⊄ B
สมบัติของสับเซต
1) A ⊂ A (เซตทุกเซตเป็นสับเซตของตัวมันเอง)
2) A ⊂ U (เซตทุกเซตเป็นสับเซตของเอกภพสัมพัทธ์)
3) ø ⊂ A (เซตว่างเป็นสับเซตของทุกๆ เซต)
4) ถ้า A ⊂ ø แล้ว A = ø
5) ถ้า A ⊂ B และ B ⊂ C แล้ว A ⊂ C (สมบัติการถ่ายทอด)
6) A = B ก็ต่อเมื่อ A ⊂ B และ B ⊂ A
7) ถ้า A มีจำนวนสมาชิก n ตัว สับเซตของเซตจะมีทั้งสิ้น 2n สับเซต
สับเซตแท้
นิยาม A เป็นสับเซตแท้ของ B ก็ต่อเมื่อ A⊂B และ A ≠ B
ตัวอย่าง กำหนดให้ A = { a , b , c } จงหาสับเซตแท้ทั้งหมดของ A
วิธีทำ สับเซตแท้ของ A ได้แก่
ø, {a} , {b} ,{c} , {a,b} , {a ,c} , {b,c}
มีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 7 สับเซต
หมายเหตุ ถ้า A มีจำนวนสมาชิก n ตัว สับเซตแท้ของเซตA จะมีทั้งสิ้น 2n –1 สับเซต
เราสามารถเขียนความสัมพันธ์ของสับเซตออกมาในรูปของแผนภูมิได้ดังนี้ครับจากรูปแสดงได้ว่า A⊂B
เพาเวอร์เซต (Power Set)
คำว่า เพาเวอร์เซต เป็นคำศัพท์เฉพาะ ซึ่งใช้เป็นชื่อเรียกเซตเซตหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสับเซต
เพาเวอร์เซตของ A เขียนแทนด้วย P(A)
P(A) คือเซตที่มีสับเซตทั้งหมดของ A เป็นสมาชิก
สมบัติของเพาเวอร์เซต
ให้ A , B เป็นเซตใดๆ
1) ø ⊂ P(A)
2) A ⊂ P(A)
3) P(A) ≠ ø
4) P(A) ⊂ P(B) ก็ต่อเมื่อ A ⊂ B
5) ถ้า A มีสมาชิก n ตัว P(A) จะมีสมาชิก 2n ตัว
เนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.4 เรื่องเซต
- ความหมายของเซต
- เซตจำกัด และเซตอนันต์
- เซตว่าง และเอกภพสัมพัทธ์
- ยูเนียน อินเตอร์เซกชันและคอมพลีเมนต์ของเซต
- สับเซตและเพาเวอร์เซต
- แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์
สำหรับคนที่สนใจอยากเรียนคณิตศาสตร์เรื่องเซต และเรื่องอื่นๆ แต่ไม่อยากอ่านเอง อยากดูในรูปแบบคลิปวีดีโอมากกว่า พี่มีของดีมาแนะนำครับ คลิปวีดีโอสอนเรื่องเซตครบทุกหัวข้อ และบทเรียนอื่นๆในระดับชั้นมัธยมอีกครบถ้วน สอนอย่างละเอียดตั้งแต่เริ่มต้น พร้อมด้วยโจทย์เรื่องเซตเรียงจากง่ายไปยาก แถมสามารถเรียนได้จากที่บ้านเลยไม่ต้องเดินทางไปไหน ลองอ่านข้อความด้านล่างนี้ดูนะครับ
วณัฐพงศ์ อายุวงศ์ says
อยากติวเพิ่ม วิชาคณิต ฟิสิกค์ เคมี ชีวะ อังกฤษ
นาย คงพัฒน์ นาดีด่านกลาง says
มีเเบบนี้ดีมากเลิยครับผมจะได้เรียนร่วงหน้าไปก่อน
onsasi says
ขอบคุณนะคะ ได้ประโยชน์มากๆ เข้าใจง่ายๆ
ก้อง says
เขียนผิดนะครับ ต้องเป็น
.
.
.
สมบัติของเพาเวอร์เซต
2) A ∈ P(A)
Nanthicha says
D={Ø,2,4,6}