วิชาคณิตศาสตร์ ถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาความคิด ทักษะ และกระบวนการเรียนรู้ โดยเฉพาะในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการปลูกฝังแนวคิดทางคณิตศาสตร์ เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ ณ ระดับชั้นนี้ มุ่งเน้นการปูพื้นฐานความรู้ และพัฒนาทักษะเบื้องต้น เพื่อเตรียมความพร้อม และสร้างเสริมรากฐานที่มั่นคง สำหรับการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับที่สูงขึ้น
เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นป.1 ถูกออกแบบอย่างรอบคอบ และคำนึงถึงพัฒนาการทางสมอง ความสนใจ และประสบการณ์ของเด็กวัยนี้ โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม การเล่น และการลงมือปฏิบัติ ส่งเสริมให้เด็กๆ ได้ค้นพบ เรียนรู้ และสร้างความเข้าใจ ในแนวคิดทางคณิตศาสตร์ อย่างสนุกสนาน และเพลิดเพลิน
หลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เทอมต้น
หน่วยที่ 1 จำนวน
เรื่อง 1.1 จำนวน
- การนับและแสดงจำนวน 1 ถึง 5 และ 0
- การเขียน การอ่าน ตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย แสดง จำนวนนับ 1 และ 2
- การเขียน การอ่าน ตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย แสดงจำนวนนับ 3 และ 4
- การเขียน การอ่าน ตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย แสดง จำนวนนับ 5 และ 0
- ความสัมพันธ์ของจำนวน 1 ถึง 5 แบบส่วนย่อย – ส่วนรวม
- การเปรียบเทียบจำนวน 1 ถึง 5 และ 0
- การเรียงลำดับจำนวน 1 ถึง 5 และ 0
- การนับและแสดงจำนวนนับ 6 ถึง 10
- การเขียน การอ่าน ตัวเลขฮินดู อารบิกและตัวเลขไทย แสดงจำนวนนับ 6 และ 7
- การเขียน การอ่าน ตัวเลขฮินดู อารบิกและตัวเลขไทย แสดงจำนวนนับ 8 และ 9
- การเขียน การอ่าน ตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย แสดงจำนวนนับ 10
- การบอกจำนวน 1 ถึง 5 โดยไม่ต้องนับ
- การบอกจำนวน 6 ถึง 10 โดยไม่ต้องนับ
- การเปรียบเทียบจำนวน 1 ถึง 10 และ 0
- การเรียงลำดับจำนวน 1 ถึง 10 และ 0
- ความสัมพันธ์ของจำนวน 6 ถึง 10 แบบส่วนย่อย-ส่วนรวม
- การนับและแสดงจำนวน 10 ถึง 20
- การเขียน การอ่าน ตัวเลขฮินดู อารบิกและตัวเลขไทย แสดงจำนวนนับ 10 ถึง 14
- การเขียน การอ่าน ตัวเลขฮินดู อารบิกและตัวเลขไทย แสดงจำนวนนับ 15 ถึง 20
- การเขียนตัวเลขแสดงจำนวนนับ 10 ถึง 20 ในรูปกระจาย
- หลัก ค่าของเลขโดดในหลักสิบ และหลักหน่วยของจำนวน 10 ถึง 20
- การเปรียบเทียบจำนวน 1 ถึง 20 และการใช้เครื่องหมาย = ≠
- การเปรียบเทียบจำนวน 1 ถึง 20 และการใช้เครื่องหมาย ><
- การเปรียบเทียบจำนวน 1 ถึง 20 โดยใช้เส้นจำนวน
- การเรียงลำดับจำนวน 10 ถึง 20
- ความสัมพันธ์ของจำนวน 10 และ 11 แบบส่วนย่อย-ส่วนรวม
- ความสัมพันธ์ของจำนวน 12 ถึง 20 แบบส่วนย่อย-ส่วนรวม
- ทบทวนและสรุปการนับและแสดงจำนวนนับ 1 ถึง 20 และ 0
- การบอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆ
- การบอกอันดับที่
- การแสดงสิ่งต่าง ๆ ตามตำแหน่ง
- การแสดงสิ่งต่าง ๆ ตามตำแหน่ง และอันดับที่
- การนำตำแหน่งและอันดับที่ไปใช้
หน่วยที่ 2 การดำเนินการ
เรื่อง 2.1 การดำเนินการ
- ทบทวนการนับจำนวน การอ่าน ตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย แสดงจำนวนไม่เกิน 10
- การรวมจำนวนสองจำนวน
- การบวกและการเขียนประโยค สัญลักษณ์การบวก
- การบวกด้วยศูนย์
- การหาผลบวกโดยใช้เส้นจำนวน
- การหาผลบวกโดยใช้การวาดรูป
- ความสัมพันธ์ของจำนวนแบบ ส่วนย่อย – ส่วนรวมกับการบวก
- การบวกจำนวนเดียวกัน
- การสลับที่ของการบวก
- การบวกที่ผลบวกเป็น 10
- สถานการณ์การบวก
- การวิเคราะห์โจทย์ปัญหาการบวก และหาคำตอบ
- การแสดงวิธีหาคำตอบจากโจทย์ปัญหาการบวก
- การสร้างโจทย์ปัญหาการบวก
- ทบทวนการหาผลบวกที่ผลบวกไม่เกิน 10
- การลบโดยการเอาออกที่ตัวตั้งไม่เกิน 10
- การลบโดยการเปรียบเทียบที่ตัวตั้งไม่เกิน 10
- การลบโดยใช้ความสัมพันธ์ของจำนวนแบบส่วนย่อย – ส่วนรวม
- การลบด้วย 0
- การหาผลลบโดยใช้กรอบสิบ (Ten Frame)
- การหาผลลบโดยใช้เส้นจำนวน
- ความสัมพันธ์ของการบวกและการลบ
- การนำความสัมพันธ์ของการบวก และการลบไปใช้
- สถานการณ์การลบ
- การแก้โจทย์ปัญหาการลบ
- การสร้างโจทย์ปัญหาการลบจากภาพ
- การสร้างโจทย์ปัญหาการลบจากประโยคสัญลักษณ์
- ทบทวนการหาผลลบ
- การหาค่าของตัวไม่ทราบค่าโดย ใช้ความสัมพันธ์ของจำนวนแบบ ส่วนย่อย – ส่วนรวม
- การแก้โจทย์ปัญหาการลบ
- การสร้างโจทย์ปัญหาการลบ จากภาพ และจากประโยคสัญลักษณ์
- การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 10 2. การลบที่ผลลัพธ์ไม่เกิน 10
- การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 20 (จำนวน 1 หลักกับจำนวน 1 หลัก) โดยการนับต่อและการใช้เส้นจำนวน
- การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 20 (จำนวน 2 หลักกับจำนวน 1 หลัก) โดยการนับต่อและการใช้เส้นจำนวน
- การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 20 โดย การทำให้ครบสิบ
- การบวกจำนวนเดียวกัน ที่ผลบวกไม่เกิน 20 และการบวกจำนวน สองจำนวนที่ใกล้เคียงกัน
- การบวกจำนวน 3 จำนวน ที่ผลบวกไม่เกิน 20
- การลบจำนวนสองจำนวนที่ตัวตั้ง มากกว่า 10 แต่ไม่เกิน 20 โดยการเอาออก
- การลบจำนวนสองจำนวนที่ตัวตั้ง มากกว่า 10 แต่ไม่เกิน 20 โดยการ ใช้เส้นจำนวน
- การลบจำนวนสองจำนวนที่ตัวตั้งมากกว่า 10 แต่ไม่เกิน 20 โดยการหาจำนวนที่เพิ่มเข้ามา
- การลบจำนวนสองจำนวนที่ตัวตั้ง มากกว่า 10 แต่ไม่เกิน 20เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ
- การลบจำนวนสองจำนวนที่ตัวตั้ง มากกว่า 10 แต่ไม่เกิน 20 โดยการเปรียบเทียบ
- การลบจำนวนสองจำนวนที่ตัวตั้ง มากกว่า 10 แต่ไม่เกิน 20โดยใช้ ความสัมพันธ์ของจำนวนแบบ ส่วนย่อย – ส่วนรวม
- การลบจำนวนสามจำนวนที่ตัวตั้งมากกว่า 10 แต่ไม่เกิน 20
- การหาค่าของตัวไม่ทราบค่า ในประโยคสัญลักษณ์การบวก
- การหาค่าของตัวไม่ทราบค่า ในประโยคสัญลักษณ์การลบ
- โจทย์ปัญหาการบวก การลบที่ผลลัพธ์ไม่เกิน 20
- โจทย์ปัญหาการบวก การลบ (สถานการณ์ที่มีคำว่ามากกว่า น้อยกว่า)
- โจทย์ปัญหาการบวก การลบ (สถานการณ์ที่มีตัวไม่ทราบค่า)
- การสร้างโจทย์ปัญหาจากแถบข้อความที่กำหนด
- การสร้างโจทย์ปัญหาจากภาพ
- การสร้างโจทย์ปัญหาจากประโยคสัญลักษณ์
หน่วยที่ 3 เรขาคณิต
เรื่อง 3.1 เรขาคณิต
- ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
- ทรงกลม ทรงกระบอก และกรวย
- ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกลม ทรงกระบอก และกรวย
- รูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยม
- วงกลม และวงรี
- รูปเรขาคณิตสองมิติและรูปเรขาคณิตสามมิติ
- การเขียนรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลม และวงรี โดยใช้แบบของรูปเรขาคณิตสองมิติ
- การเขียนรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลม และวงรี โดยใช้สิ่งต่าง ๆ เป็นแบบ
- รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลม และวงรี
หลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เทอมปลาย
หน่วยที่ 1 จำนวน
เรื่อง 1.1 จำนวน
- การบอกจำนวนของสิ่งต่าง ๆ และแสดงสิ่งต่าง ๆ ตามจำนวนที่กำหนด 1 ถึง 20
- การอ่าน การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย และตัวหนังสือแสดงจำนวน 1 ถึง 20
- การบอกจำนวนของสิ่งต่าง ๆ และสิ่งต่าง ๆ ตามจำนวนที่กำหนด 10 20 30 … 100
- การอ่าน การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย ตัวหนังสือแสดงจำนวน 10 20 30 … 100
- การบอกและแสดงจำนวนนับ 21 ถึง 30
- การเขียน การอ่าน ตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย ตัวหนังสือแสดงจำนวนนับ 21 ถึง 30
- การบอกและแสดงจำนวนนับ 31 ถึง 50
- การเขียน การอ่าน ตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย ตัวหนังสือ แสดงจำนวนนับ 31 ถึง 50
- การบอกและแสดงจำนวนนับ 51 ถึง 100
- การเขียน การอ่าน ตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย ตัวหนังสือ แสดงจำนวนนับ 51 ถึง 100
- หลักและค่าของเลขโดด ในแต่ละหลักของจำนวนนับไม่เกิน 100
- การเขียนตัวเลขแสดงจำนวนนับไม่เกิน 100 ในรูปกระจาย
- การเปรียบเทียบจำนวนสองจำนวนที่มีจำนวนหลักไม่เท่ากัน และไม่เกิน 100
- การเปรียบเทียบจำนวนสองหลักกับจำนวนสองหลักที่เลขโดดในหลักสิบไม่เท่ากัน
- การเปรียบเทียบจำนวนสองหลักกับจำนวนสองหลักที่เลขโดดในหลักสิบเท่ากัน
- การเรียงลำดับจำนวนสามจำนวนที่ไม่เกิน 100
- การเรียงลำดับจำนวนนับไม่เกิน 100 (สี่ถึงห้าจำนวน)
- การเขียน การอ่าน ตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย ตัวหนังสือ แสดงจำนวนนับ 21 ถึง 100
- หลักและค่าของเลขโดดในแต่ละหลัก ของจำนวนนับไม่เกิน 100
- การเขียนตัวเลขแสดงจำนวนนับไม่เกิน 100 ในรูปกระจาย
- การเปรียบเทียบจำนวนสองจำนวนนับไม่เกิน 100
- การเรียงลำดับจำนวนนับไม่เกิน 100
หน่วยที่ 2 การดำเนินการของจำนวน
เรื่อง 2.1 การดำเนินการของจำนวน
- การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 20
- การบวกจำนวนสองหลักกับหนึ่งหลักที่ผลบวกไม่เกิน 100 ไม่มีการทด
- การบวกจำนวนสองหลักกับสองหลักที่ผลบวกไม่เกิน 100 ไม่มีการทด
- การบวกจำนวนสองหลักกับหนึ่งหลักที่ผลบวกไม่เกิน 100 มีการทด
- การหาผลบวกโดยการตั้งบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100 และไม่มีการทด
- การหาผลบวกโดยการตั้งบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100 และมีการทด
- การหาผลบวกของจำนวนสามจำนวน
- การหาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์การบวก
- ทบทวนความรู้เรื่องการบวกจำนวนที่ผลบวกไม่เกิน 100
- ทบทวนการลบที่ตัวตั้งไม่เกิน 20
- การลบจำนวนสองหลักกับจำนวนหนึ่งหลักไม่มีการกระจาย
- การลบจำนวนสองหลักกับจำนวนสองหลักไม่มีการกระจาย
- การลบจำนวนสองหลักกับจำนวนหนึ่งหลักที่ตัวตั้งไม่เกิน 100 มีการกระจาย
- การลบจำนวนสองหลักกับจำนวนสองหลักที่ตัวตั้งไม่เกิน 100 มีการกระจาย
- การลบจำนวนสองหลักกับจำนวนไม่เกินสองหลักที่ตัวตั้งไม่เกิน 100 ไม่มีการกระจาย โดยการตั้งลบ
- การลบจำนวนสองหลักกับจำนวนไม่เกินสองหลักที่ตัวตั้งไม่เกิน 100 มีการกระจาย โดยการตั้งลบ
- ความสัมพันธ์ของการบวกและการลบ
- การหาค่าของตัวไม่ทราบค่าประโยคสัญลักษณ์การบวกและประโยคสัญลักษณ์การลบของจำนวนสองหลักกับจำนวนหนึ่งหลัก
- การหาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์การบวกและประโยคสัญลักษณ์การลบของจำนวนสองหลักกับจำนวนสองหลัก
- ทบทวนการลบจำนวนสองหลักกับจำนวนไม่เกินสองหลักที่ตัวตั้งไม่เกิน 100 โดยการตั้งลบและการหาค่าของตัวไม่ทราบค่า
- การแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบที่ผลลัพธ์ไม่เกิน 20
- การสร้างโจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบที่ผลลัพธ์ไม่เกิน 20
- สถานการณ์การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100
- สถานการณ์การบวกที่ผลบวกไม่เกิน 100 ที่ใช้คำว่ามากกว่าหรือน้อยกว่าในสถานการณ์
- สถานการณ์การลบที่ตัวตั้งไม่เกิน 100
- สถานการณ์การลบที่ตัวตั้งไม่เกิน 100 ที่ใช้คำว่ามากกว่าหรือน้อยกว่าในสถานการณ์
- การแก้โจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบที่ผลลัพธ์ไม่เกิน 100 พร้อมหาคำตอบ
- การแก้โจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบที่ผลลัพธ์ไม่เกิน 100 จากสถานการณ์ที่มีคำว่ามากกว่า
- การแก้โจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบที่ผลลัพธ์ไม่เกิน 100 จากสถานการณ์ที่มีคำว่าน้อยกว่า
- การแก้โจทย์ปัญหาการบวก โจทย์ปัญหาการลบจากสถานการณ์ที่มีตัวไม่ทราบค่า
- การสร้างโจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบจากภาพ
- การสร้างโจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบจากประโยคสัญลักษณ์
- การแก้โจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบที่ผลลัพธ์ไม่เกิน 100 พร้อมหาคำตอบ
หน่วยที่ 4 แบบรูป
เรื่อง 3.1 แบบรูป
- แบบรูปซ้ำของรูปเรขาคณิตและรูปอื่น ๆ ที่มีรูปร่าง ขนาด หรือสี สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยสมาชิกในแต่ละชุดที่ซ้ำมี 2 รูป
- การหารูปที่หายไปในแบบรูปซ้ำของรูปเรขาคณิตและรูปอื่น ๆ ที่มีรูปร่าง ขนาด หรือสี สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยสมาชิกในแต่ละชุดที่ซ้ำมี 2 รูป
- การสร้างแบบรูปซ้ำของรูปเรขาคณิตและรูปอื่น ๆ ที่มีรูปร่าง ขนาด หรือสี สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยสมาชิกในแต่ละชุดที่ซ้ำมี 2 รูป
- แบบรูปของจำนวนที่เพิ่มขึ้นทีละ 1 ทีละ 10
- แบบรูปของจำนวนที่ลดลงทีละ 1 ทีละ 10
- แบบรูปของจำนวนที่เพิ่มขึ้นทีละ 1 ทีละ 10 และลดลงทีละ 1 ทีละ 10 ในตารางตัวเลข 1 – 100
หน่วยที่ 5 สถิติ
เรื่อง 4.1 สถิติ
- แผนภูมิอย่างง่ายจากสื่อของจริง (Concrete graphs)
- แผนภูมิรูปภาพอย่างง่าย
- แผนภูมิรูปภาพเมื่อกำหนดรูป 1 รูป แทน 1 หน่วย
- รอยขีดกับแผนภูมิรูปภาพเมื่อกำหนดรูป 1 รูปแทน 1 หน่วย
- การแก้ปัญหาเกี่ยวกับแผนภูมิรูปภาพ
หน่วยที่ 6 การวัด
เรื่อง 5.1 การวัด
- การเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งของสองสิ่งโดยใช้เครื่องชั่งสองแขนอย่างง่าย
- การวัดและบอกน้ำหนักด้วยเครื่องชั่งที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
- การคาดคะเนน้ำหนักของสิ่งต่าง ๆ
- การวัดและบอกน้ำหนักเป็นกิโลกรัม
- การคาดคะเนน้ำหนักเป็นกิโลกรัม
- การเปรียบเทียบน้ำหนักเป็นกิโลกรัม
- การวัดและบอกน้ำหนักเป็นขีด
- การเปรียบเทียบน้ำหนักเป็นขีด
- การแก้โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบเกี่ยวกับน้ำหนัก
- การแก้โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบที่มีตัวไม่ทราบค่าเกี่ยวกับน้ำหนัก
- การชั่งและบอกน้ำหนักโดยใช้เครื่องชั่งสปริง
- การเปรียบเทียบความยาวของ สิ่งต่าง ๆ โดยใช้คำว่า สั้นกว่า ยาวกว่า ยาวเท่ากัน และใช้คำว่า สั้นที่สุด ยาวที่สุด เมื่อมีสิ่งของมากกว่าสองสิ่ง
- การเปรียบเทียบความสูงของสิ่งต่าง ๆ โดยใช้คำว่า เตี้ยกว่า สูงกว่า สูงเท่ากัน และใช้คำว่า เตี้ยที่สุด สูงที่สุด เมื่อมีสิ่งของมากกว่าสองสิ่ง
- การวัดความยาวและความสูงของสิ่งต่างๆ โดยใช้หน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
- การเปรียบเทียบความยาวหรือความสูงโดยใช้หน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
- การวัดความยาวเป็นเซนติเมตร
- การวัดความสูงเป็นเซนติเมตร
- การคาดคะเนความยาวหรือความสูงเป็นเซนติเมตร
- การวัดความยาวเป็นเมตร
- การเปรียบเทียบความยาวที่มีหน่วยเป็นเซนติเมตร เป็นเมตร
- การแก้โจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบ
บทสรุป
เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มิใช่เพียงแค่ “การเรียนรู้ตัวเลข” เท่านั้น หากแต่เป็นการปลูกฝัง “ทักษะชีวิต” เบื้องต้น อาทิ การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การตัดสินใจ และการประเมิน ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย ส่งผลต่อการพัฒนา ทั้งด้านสติปัญญา อารมณ์ และสังคม ของเด็ก อย่างสมดุล และยั่งยืน
เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมตอนต้น
เครดิตที่มาของข้อมูล
- DLTV วิชาคณิตศาสตร์ โดยครูจีรวุฒิ ภักดี และครูรัชนีพร พิณทอง
ร่วมแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ “เนื้อหา คณิตศาสตร์ ป.1 อัพเดทล่าสุด ตามหลักสูตรกระทรวง”